Page 132 - 22665_Fulltext
P. 132
115
กับคณะกรรมการหมู่บ้าน ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ใหญ่บ้านหรือประธาน(ผู้อาวุโส) จะพูดให้
เห็นถึงโทษของการทะเลาะกัน และประโยชน์ของการอยู่ร่วมกัน พูดให้คู่กรณีรักกัน หากสามารถให้อภัย
กันได้ ก็ให้ขออภัยกัน และยกขันหมากมาขอขมาพ่อแม่ของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงมีการท าบันทึกข้อตกลง
เก็บไว้ที่ท าการผู้ใหญ่บ้าน ขั้นตอนภายหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายหลังจากไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมี
การติดตามประเมินผลภายหลังจากไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่ายังมีการทะเลาะกันอีกหรือไม่
7) กลไกในการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยคนกลาง
กลไกในการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยคนกลางในชุมชน
จะเน้นแก้ปัญหากันในระดับหมู่บ้านก่อน หากไม่ได้จะมาที่ระดับต าบล และบางเรื่องไปที่ศูนย์ด ารง
ธรรมอ าเภอ และศาลยุติธรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระดับต าบลมีก านันเป็นคนกลาง มีทั้งเรื่อง
การทะเลาะกันระหว่างลูกบ้าน เรื่องเขตแดน เรื่องอนาจาร ในเรื่องเขตแดน ก านันจะใช้วิธีการ ไปดู
พื้นที่ด้วยกัน ให้เขาดูแนวเขตที่พอจะยอมรับร่วมกันได้ และพูดถึงการอยู่ร่วมกัน ความเอื้ออาทรต่อ
กัน อธิบายถึงความผูกพันในอดีต ไม่เน้นกฎหมายเป็นหลัก แต่ต้องมีการบันทึกข้อตกลงเนื่องจากเป็น
สิ่งส าคัญและจ าเป็น การไกล่เกลี่ยโดยก านันจะมีการบันทึกข้อตกลงทุกครั้ง มีความรัดกุมเพื่อป้องกัน
ตัวเราเองด้วยในการถูกด าเนินคดี ส าหรับการไกล่เกลี่ยในระดับหมู่บ้านก็เช่นกันจะมีการไกล่เกลี่ยใน
รูปแบบของคณะกรรมการ มีการนัดเวลากัน เมื่อพร้อมเพรียงกันแล้วจะมีการเริ่มต้นไกล่เกลี่ย ที่
หมู่บ้านทับทิมสยาม 07 จะเรียกว่าการเปิดศาลไกล่เกลี่ย และมีค่าปริบสินไหม จ านวนเงิน 200 บาท
ไม่ว่าเรื่องจะจบอย่างไรก็ตาม บางหมู่บ้านคิดค่าปรับสินไหม 500 บาท
“พยายามจะชี้แจงให้เขาฟัง ว่ามีที่ติดกันต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อยู่นานตลอด
ชีวิต ไม่อยากให้มีปัญหา บางทีพูดว่า ตายไปเอาอะไรไปไม่ได้หรอก อยู่ด้วยกันจะได้ช่วยดูแลกัน ไม่
เน้นกฎหมาย ถ้าหาแนวทางไม่ได้เดี๋ยวให้ไปศูนย์ด ารงธรรมอ าเภอ ให้ช่วยไกล่เกลี่ยส่วนมากจะได้ศูนย์
ด ารงธรรมซึ่งไม่ต้องไปขึ้นศาล ปลัดอ าเภอ มีเจ้าหน้าที่คอยให้ค าแนะน า บางทีก็จบตรงนั้นได้”(สมิง
รุ่งค า, สัมภาษณ์ 29 พฤษภาคม 2564)
“พยายามที่จะให้ลงเอยกันด้วยดี ผมเป็นห่วงเรื่องความผูกพัน ความเอื้ออาทรที่
จะอยู่ด้วยกันต่อไป การอยู่ การประกอบอาชีพ เวลาไปท าไร่ท านา เวลาตอนพักเที่ยงจะพักพร้อมกัน
ใครมีกระท่อมก็นั่งกระท่อม ไม่มีกระท่อมก็หาร่ม ๆ ไปนั่งกินข้าวเที่ยงมีอะไรก็แบ่งกันกินอย่างนี้มี
ความสุข บางทีไปท างานวันนี้เสร็จแล้วเห็นที่ข้างเคียงยังไม่เสร็จก็ช่วยกันไม่ว่าจะท าอะไรก็ช่วยกัน
กลับบ้านพร้อมกันถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามของพื้นที่ พยายามอธิบายเรื่องเก่า ๆ ของพ่อแม่ ปู่ย่าตา
ยาย ให้ฟัง พยายามจะหาชักแม่น้ าทั้งห้าให้เขายอมรับ แต่บางครั้งก็ได้ บางครั้งไม่ได้” (สมิง รุ่งค า,
สัมภาษณ์ 29 พฤษภาคม 2564)
“บันทึกข้อตกลงต้องบันทึกทุกครั้ง ไม่บันทึกไม่ได้เลย อย่างน้อยเป็นเอกสาร
อ้างอิง ไม่ว่าเขาจะไปแจ้งความหรือขึ้นศาลอะไรต่าง ๆ จะลงบันทึกให้รัดกุมมากที่สุด ไม่ติดใจเอา