Page 61 - kpi22408
P. 61
60
3.3 สถานะของพระมหากษัตริย์ และบทบาทของ
พระมหากษัตริย์ในบริบทสังคมไทย
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การพิจารณาถึงสถานะและบทบาท
ของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยนั้น จะพิจารณาเฉพาะบทบัญญัติใน
รัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากแต่จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
วัฒนธรรม และประเพณีของสังคมไทยประกอบด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์
ที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้มาโดยตลอด แต่ก่อนที่จะพูดถึงบทบาท
และพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยนั้น จะต้องทำา
ความเข้าใจก่อนว่า Walter Bagehot นักวิชาการคนหนึ่งได้เคยกล่าวถึง
สิทธิของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขว่าทรงมีสิทธิที่สำาคัญ 3 ประการ คือ
1) สิทธิที่จะได้รับการปรึกษา (The right to be consulted)
ซึ่งหมายถึง สิทธิที่จะทรงรับคำาปรึกษาหารือ
2) สิทธิที่จะให้กำาลังใจ (The right to encourage) ซึ่งหมายถึง
สิทธิในการส่งเสริมนโยบายหรือกิจการของรัฐบาลที่เป็น
ประโยชน์แก่ประเทศชาติ และ
3) สิทธิที่จะตักเตือน (The right to warn) ซึ่งหมายถึง สิทธิใน
การตักเตือนรัฐบาลถึงข้อดีข้อเสีย เนื่องจากพระมหากษัตริย์
นั้นเป็นผู้ที่ทรงครองราชย์มายาวนาน ย่อมเห็นเหตุการณ์
ต่างๆ ในบ้านเมืองตลอดรัชสมัยของพระองค์ จึงทรงเป็น
เสมือนแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองมากที่สุด
7/2/2565 BE 16:08
inside_�������������.indd 60
inside_�������������.indd 60 7/2/2565 BE 16:08