Page 62 - kpi22408
P. 62
ความรู้เบื้องต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 61
จะเห็นได้ว่า ในส่วนของสิทธิที่จะได้รับการปรึกษานั้น มีบัญญัติ
ไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการกำาหนดพระราชอำานาจในการแต่งตั้งองคมนตรีซึ่งเปรียบเสมือน
ผู้ให้คำาปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อที่
3.2 ส่วนสิทธิที่จะให้กำาลังใจ และสิทธิที่จะตักเตือนนั้น แม้จะไม่ได้บัญญัติ
ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เราก็จะพบเห็นได้บ่อยครั้งที่พระมหากษัตริย์ได้ทรง
ให้กำาลังใจ ทรงตักเตือน หรือทรงให้ข้อคิดเห็นหรือคำาแนะนำาเพื่อเป็น
แนวทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ดังนั้น ถ้าหากพิจารณาบริบททาง
สังคมไทยแล้ว เราจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะและ
บทบาทนอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
• ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ซึ่งนอกจากจะทรง
เป็นประมุขของประเทศอันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็น
อันหนึ่งอันเดียว (Unity) ของประเทศไทยแล้ว ก็ยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนในชาติด้วย แม้ว่าจะไม่ได้ทรงเป็นผู้ดำาเนินการบริหาราชการแผ่นดิน
แต่ทุกครั้งที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเมืองอันเนื่องมาจากปัญหา
ความขัดแย้ง ความไม่เห็นต่าง หรือปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน
ก็จะทรงเป็นผู้นำาในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง หรือเพื่อให้ยุติการใช้ความรุนแรงได้
ทุกครั้ง
ที่สำาคัญ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญหลายครั้งก็ได้มีการบัญญัติ
พระราชอำานาจที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะ
ที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน เช่น การยกร่างรัฐธรรมนูญโดย
7/2/2565 BE 16:08
inside_�������������.indd 61
inside_�������������.indd 61 7/2/2565 BE 16:08