Page 99 - 22376_fulltext
P. 99

เสริมสร้างพลังพลเมือง
                                                               จังหวัดร้อยเอ็ด


                      4.1.5 การเรียนรู้แบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning

                  organization)

                           การประชุมที่สม่ำเสมอ และการร่วมกิจกรรมในพื้นที่ของ
                  สมาชิกสภาพลเมือง เป็นกระบวนการป้อนข้อมูลกลับและติดตาม

                  ผลการทำงาน รวมทั้งการสร้างความรู้ใหม่ให้กับสมาชิก นอกจากนี้
                  ยังมีการถอดบทเรียนโครงการย่อยทั้ง 3 เพื่อค้นหาจุดอ่อนจุดแข็ง

                  และกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการต่อเนื่องต่อไปอีกด้วย เช่น
                  การได้มาซึ่งกระบวนการทำงานของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
                  การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง พร้อมข้อเสนอใน

                  การพัฒนาโครงการ และการต่อยอดทางวิชาการ ดังนี้

                           1. ควรมีการพัฒนาลูกบ้าน ให้รู้จักการติดตามตรวจสอบ

                  การทำงานของผู้ใหญ่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นตำแหน่ง
                  ที่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแท้จริง ที่เรียกว่า การตรวจสอบโดย

                  ประชาชน

                           2. การได้มาซึ่งตำแหน่งที่รับผิดชอบต่อส่วนรวม จากความ

                  ไว้วางใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง มีความหมายว่า ผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง
                  ต้องปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองต่อความไว้วางใจของประชาชนให้ถึงที่สุด
                  ที่เรียกว่า การมีความรับผิดรับชอบ (accountability) ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน

                  ต่อประชาชนในหมู่บ้านของตน ทั้งในบทบาทหน้าที่ของตนเองและในฐานะ
                  ผู้แทนและการเป็นต้นแบบที่ดีให้ชุมชน

                           3. ทั้งข้อเสนอ 1 และ 2 คือ กระบวนการส่งเสริม

                  ประชาธิปไตยทั้งในบทบาทของพลเมือง และบทบาทของผู้ได้รับ
                  การเลือกตั้งและเป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้เรื่อง



 สถาบันพระปกเกล้า
                                              สถาบันพระปกเกล้า
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104