Page 97 - 22376_fulltext
P. 97
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
และความรับผิดชอบและการเป็นผู้นำ ซึ่งได้ส่งผลทางบวกในการพัฒนา
ความสามารถและการเป็นผู้นำของสมาชิก การฝึกฝนการอภิปราย
แลกเปลี่ยน การรับฟังความคิดเห็น สร้างการมีส่วนร่วม พัฒนาทักษะ
ประชาธิปไตย และการช่วยเสริมจุดแข็ง โดยเฉพาะในกระบวนการทำงาน
แบบกระจายเป็นโครงการย่อย
4.1.4 ความร่วมมือและการบูรณาการ (Collaboration/
Integration)
ความพยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการ
การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นตลอดเวลา เป็นเข็มมุ่งของโครงการ
เสริมพลังพลเมืองของจังหวัดร้อยเอ็ดนับตั้งแต่การลงนามข้อตกลงของ
40 หน่วยงาน ในการขับเคลื่อน ทั้งทางตรง ทางอ้อม
“พลเมืองประชาธิปไตยต้องอาศัยหลายภาคส่วนในการขับเคลื่อน
ทั้งทางตรง ทางอ้อม ต้องการให้ทำงานร่วมกันเป็นภาคีกันต่อไป”
(นายอภิฉัตร ภูสนาม, 18 มกราคม 2563) เป็นคำกล่าวในการประชุม
สภาพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมให้ต่อเนื่องในปี 2563
ขณะที่สภาพลเมืองร้อยเอ็ด มีกระบวนการทำงานที่พยายามสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือและบูรณากการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นตลอดเวลา
เริ่มต้นจากการใช้สถานที่ประชุมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็น
พื้นที่ศูนย์กลางเหมาะกับการเดินทางเข้าร่วมประชุม ซึ่งได้รับการสนับสนุน
เป็นอย่างดี โดยมี ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ รองประธานสภาพลเมือง
เป็นผู้ประสานงาน นอกจากนี้ การดำเนินโครงการและกิจกรรมใด ๆ จะมี
การสื่อสารให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่เสมอ ซึ่งมักไม่ได้รับการปฏิเสธทางวาจาและ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า