Page 93 - 22376_fulltext
P. 93
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
กรกฎาคม 2563 จัดขึ้นที่ศูนย์เรียนรู้ของพื้นที่ต้นแบบ อ.ธวัชบุรี นายสัญชัย
เห็นว่าการจะขับเคลื่อนต้องในมีความรู้เป็นรากฐานจึงคิดต่อทำต่อได้
และสามารถแก้ไขปัญหาได้ “ทำให้รู้หลักการแก้ไขปัญหา” (นายพยนต์
ปัญญาภา, 18 มิถุนายน 2563) และ “การให้อาวุธทางปัญญา สามารถ
ตอบโจทย์ได้และใช้ความคิด” (นายสัญชัย ช่องวารินทร์, 21 สิงหาคม
2563) หรือการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์ที่กลุ่มผู้ทำงานจะลง
พื้นที่ทำความเข้าใจการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในหมู่บ้านเป้าหมาย จะมี
การเดินทางร่วมกันเป็นคณะทำงานเพื่อลงพื้นที่ หรือการร่วมกิจกรรม
จิตอาสาปลูกป่าในใจคน ก็จะมีสมาชิกเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกันเสมอ
ตั้งแต่การอบรม การขนย้ายต้นกล้า และการปลูกในพื้นที่เป้าหมาย
ในการกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการเรียนรู้และการสื่อสารระหว่างกัน
โดยมีประเด็นการขับเคลื่อนเป็นจุดร่วม
การดำเนินงานของสภาพลเมืองโดยความรู้และประสบการณ์
ของสมาชิกเป็นพลังบวกในการส่งเสริมพลังพลเมือง กล่าวคือ สร้างความ
มั่นใจให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในการพึ่งพา พัฒนา และจัดการตนเอง และ
เมื่อผลการดำเนินโครงการปรากฏและสามารถยกระดับเป็นนโยบาย
สาธารณะ จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจในความสามารถ (self-efficacy) และ
การพึ่งพาตนเอง (self-reliance) ว่าสามารถเป็นพลเมืองที่มีพลัง
ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
ในกระบวนการทำงานของสภาพลเมืองร้อยเอ็ดนั้นยังมี
การส่งเสริมให้แต่ละคณะทำงานเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะระหว่างโครงการ
โดยทำกิจกรรมร่วมกันทั้ง 3 โครงการ แม้มิได้ร่วมเป็นคณะทำงานลักษณะ
ดังกล่าวทำให้เกิดการขยายผลทางความคิดและการปฏิบัติได้ เช่น
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า