Page 90 - 22376_fulltext
P. 90
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
1) พื้นที่เรียนรู้ความเป็นพลเมือง 3 พื้นที่ หรือ 3 ประเด็น ที่เกิด
จากการขับเคลื่อนโดยสภาพลเมือง
2) การเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยในสภาพลเมือง
3) รูปแบบการขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองโดยสภาพลเมือง
ด้วยการมีส่วนร่วม การมีผู้ประสานงาน การยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง การเน้น
ผลลัพธ์ที่แสดงได้ ด้วยหลักการพึ่งพาตนเอง (Self – reliance) เพื่อให้เกิด
ความยั่งยืน (Sustainability)
ผลการศึกษาสภาพลเมืองร้อยเอ็ด โดยการสัมภาษณ์และสังเกต
อย่างมีส่วนร่วม พบว่า
4.1.1 การมีส่วนร่วมและให้ทุกคนเข้าร่วม (Inclusion/
participation)
สภาพลเมืองร้อยเอ็ด เป็นการรวมตัวกันของภาคประชาชน
ที่สนใจการทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีประธาน และกรรมการ
ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (ได้แก่ นางสาวจิรวรรณ
สิทธิศักดิ์ ร.ต.ท. ไพฑูรย์ ทะวะลัย นายสมยงค์ รังเสนา เป็นต้น)
เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสมาชิก ร่วมด้วยตัวแทนจากนักเรียนโรงเรียน
พลเมืองที่เป็นประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน (เช่น นายมิตร เขาน้อย
นางสาวประเพ็ญ อ่างศรี) และตำบลที่มีโครงการหรือกิจกรรม (เช่น
นายประเทือง รักความซื่อ นายจตุพล คำแดงไสยย์ นางไพเราะ เชื้ออุ่น)
ที่ต้องการทำงานในรูปแบบที่แตกต่างไปจากศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมืองโดยเปิดพื้นที่และเพิ่มโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมงาน
โดยไม่ต้องมีโครงสร้าง ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการ แต่เป็นการทำงาน
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า