Page 103 - 22376_fulltext
P. 103
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
กำหนดเป้าหมายของการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่และมีความซับซ้อนขึ้น เช่น
“เราจะทำโครงการที่แก้ปัญหาน้ำในร้อยเอ็ด” ขณะที่อีกกลุ่มเสนอว่า
“เราจะทำโครงการเพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิของร้อยเอ็ด” และในที่สุด
มีความเห็นว่าทั้งสองโครงการมีความสัมพันธ์กันเพื่อปัญหาน้ำแล้ง
ส่งผลกระทบต่อการทำนาซึ่งก็คือการผลิตข้าว (ผลการสังเกตจาก
การประชุมสมาชิกสภาพลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด 24 กันยายน 2563)
ความกระตือรือร้นและความมั่นใจที่แสดงออกแตกต่างไปจากการประชุม
ในระยะแรกของสภาพลเมืองที่ผู้ศึกษาเข้าสังเกตอย่างชัดเจน
สำหรับรายละเอียดข้อค้นพบ ปรากฎดังนี้
1. พลเมืองที่เข้าร่วมจะได้มีโอกาสพูดคุยและพัฒนาความใส่ใจ
ในประเด็นสาธารณะของจังหวัด ได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้น
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองที่ต้องมีส่วนร่วมและเกิดทัศนคติ
เพื่อให้เกิดทัศนคติและความตระหนัก การลงมือปฏิบัติจริงสามารถ
ช่วยพัฒนาทัศนคติและสร้างความตระหนักร่วมทั้งความเป็นเจ้าของปัญหา
ที่ต้องการแก้ไข โสภาพลเมืองในฐานะพื้นที่สาธารณะในการพูดคุยประเด็น
ปัญหาของ จังหวัด ได้ก่อให้เกิดการรวมตัวของบุคคล 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ
พลเมืองที่มีความตระหนักในการปัญหาสาธารณะอยู่แล้ว แต่ไม่มีพื้นที่
ในการลงมือปฏิบัติหรือหาแนวรวมเพื่อประสานพลัง การเกิดขึ้นของ
สภาพลเมือง จึงตอบสนองพลเมืองกลุ่มดังกล่าวให้กลายเป็นพลเมือง
ที่กระตือรือร้น (active citizen) ลงมือปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ของจังหวัดตามประเด็นที่สนใจ จนกลายเป็น 3 โครงการย่อยและนำไปสู่
การขยายผลเป็นพื้นที่ต้นแบบดังกล่าวมาแล้ว พลเมืองกลุ่มที่สอง คือ
พลเมืองทั่วไปที่อาจยังไม่มีความรู้ถึงความเป็นพลเมืองในระบอบ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า