Page 106 - 22376_fulltext
P. 106
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
ความคิดเห็น และเห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วม เป็นสิ่งที่ไม่มีโอกาส และทำให้
รู้สึกมั่นใจ และเชื่อว่าพลเมืองสามารถเข้าช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ สำหรับ
สิ่งที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้คือการได้มีโอกาสเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพวกเขา
รับฟังเราด้วย “ซึ่งต่อไปเราต้องติดตามว่าจะแก้ไขปัญหาหรือออกนโยบาย
มาให้เราหรือเปล่า” เห็นได้ว่าสภาพลเมือง การทำโครงการและกิจกรรม
ของสภาพลเมือง รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามี
ส่วนร่วม โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย ได้ทำให้
ที่พลเมืองตระหนักในความสามารถและอำนาจของพลเมืองที่สามารถ
เข้ามีส่วนร่วมที่จะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชน สังคมได้ (นางอนงค์
ศรีสนอง (18 มิถุนายน 2563) , นายสุทัศน์ ธัญญะภู (18 มิถุนายน 2563)
นางชุติมา พลเยี่ยม. (21 สิงหาคม 2563), นางสีลา สุขสะอาด.
(15 กันยายน 2563) และสมาชิกสภาพลเมืองได้มีการยกระดับการแก้ไข
ปัญหาของชุมชนสู่การจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในปี 2564
โดยตั้งใจจะทำอย่างต่อเนื่องให้ประสบความสำเร็จ (นายวิทวัส บุญทา,
25 กันยายน 2563)
การส่งเสริมพลังพลเมืองของสภาพลเมืองร้อยเอ็ดได้เปลี่ยนแปลง
จากพลเมืองที่ร้องขอรอรับ (passive citizen) เป็นพลเมืองที่ตระหนัก
ในความเป็นพลเมืองและเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนและลงมือกระทำเอง
(concerned & active citizen) เป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นและ
มีความเชื่อมั่นในพลังตนเอง แสดงได้ดังภาพ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า