Page 60 - 22221_Fulltext
P. 60

โครงการพัฒนาระบบกำจัดขยะอินทรีย์ปุ๋ยหมักแบบแห้ง


                       เดิมเทศบาลเมืองทุ่งสง มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมประมาณ 50 ตันต่อวัน ดังนั้น
                  ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล จึงดำเนินโครงการสร้างจิตสำนึกในการจัดการ
                  ขยะมูลฝอย ซึ่งสามารถลดปริมาณขยะลงได้ประมาณ 2 ตันต่อวัน ต่อมาทางเทศบาลเมือง

                  ทุ่งสงได้ร่วมมือกับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ทุ่งสง ก่อสร้างโรงงานต้นแบบผลิตขายเชื้อเพลิง
                  RDF นำเอาขยะมาใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 8 ตันต่อวัน จากผลการศึกษาองค์ประกอบขยะ
                  มูลฝอย พบว่า ในขยะมูลฝอย 100 ส่วน จะแยกออกเป็นขยะแห้งประมาณ 40 ส่วน และ
                  เป็นขยะอินทรีย์ประมาณ 60 ส่วน


                       ปลายปี 2558 ทางเทศบาลได้ดำเนินการโครงการพลิกถุง พลิกโลก โดยใช้หลักการ
                  ขยะ 3 อย่าง คือวัสดุที่ใช้ไม่ได้ ขยะมีพิษ และขยะติดเชื้อ เป็นการสร้างเครือข่ายในการ
                  จัดการขยะขึ้น โดยเริ่มจากเทศบาลเป็นหน่วยงานนำร่อง และขยายผลสู่โรงเรียนในสังกัด
                  เทศบาลจำนวน 6 โรงเรียน จากผลการดำเนินงานทำให้จัดการขยะที่ต้นทางได้เป็นอย่างดี
                  จากนั้นได้เริ่มขยายผลสู่ชุมชนครัวเรือนทั้ง 20 ชุมชนของเทศบาล ซึ่งโครงการพลิกถุง

                  พลิกโลก ทำให้ทางเทศบาลสามารถนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์หรือเป็นการลดปริมาณ
                  ขยะมูลฝอย ที่นำไปฝังกลบได้ร้อยละ 50 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น และมีขยะเชื้อเพลิง
                  จำหน่ายให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ทุ่งสง กว่า 600 ตัน และในปี 2561 จากการดำเนิน

                  โครงการพลิกถุงพลิกโลกอย่างต่อเนื่อง หมู่บ้าน ช.พรรณี ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่เข้าร่วม
                  โครงการตั้งแต่ปี 2559 มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง โดยเฉพาะวัสดุอินทรีย์
                  มีการจัดระบบกำจัดวัสดุอินทรีย์โดยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพภายในหมู่บ้าน และนำปุ๋ยหมัก
                  ชีวภาพใช้ในการปลูกผักสวนครัวของหมู่บ้าน ทั้งนี้จากการดำเนินงานทางหมู่บ้านได้ประสบ
                  ปัญหาว่า ระบบปุ๋ยหมักชีวภาพที่ใช้อยู่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่

                  ใช้ส่วนรวมของหมู่บ้าน แต่ระบบปุ๋ยหมักชีวภาพของหมู่บ้านมีปัญหา คือ มีน้ำเสียไหล
                  และมีกลิ่นรบกวนจากระบบ มีหนอน แมลงวันรบกวน ปุ๋ยหมักชีวภาพต้องใช้เวลานานในการ
                  ย่อยสลาย จึงได้ขอความร่วมมือมายังเทศบาล เพื่อปรับปรุงระบบปุ๋ยหมักชีวภาพเดิมให้ดีขึ้น

                  จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาระบบกำจัดขยะอินทรีย์ “ปุ๋ยหมักแห้ง” โดยใช้โรงเรียน
                  และชุมชนเป็นฐาน และเทศบาลร่วมกับประชาชน หน่วยงานภาครัฐ บริษัทยิบอินซอย
                  กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแกนนำชุมชน เรียนรู้ ขยายผลไปยังชุมชน ครัวเรือน โรงเรียน วัด ระบบ
                  พี่เลี้ยง เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ ประเมินผล อีกทั้งยังจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน








                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65