Page 57 - 22221_Fulltext
P. 57
(2) การอบรมการออกแบบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของทุ่งสงและภาคใต้
(3) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านการกำหนด
ให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาลทั้ง 6 โรง ภายใต้การเรียนการสอน 1 โรงเรียน 1 ศิลปะการแสดง
เพื่อรวบรวมสืบสานวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป
หลาดชุมทางทุ่งสง จึงเปรียบเสมือน “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” ที่ดำเนินการขึ้น เพื่อเป็น
พื้นที่ในการแสดงออกและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม ทั้งการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งอาหาร
เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือเครื่องใช้ และศิลปะร่วมสมัยแขนงต่างๆ ทั้งนี้ สินค้าที่จะนำมา
จำหน่ายจะให้ความสำคัญกับสินค้าวัฒนธรรมทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้น เพื่อคงความ
อัตลักษณ์ของตลาด จึงถือได้ว่าเป็นตลาดที่แสดงสินค้าอัตลักษณ์ของเมืองเป็นแห่งแรกของ
ประเทศ
โครงการเทศบาลพบสภาชุมชนเมืองเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
สภาชุมชนเมือง ถือเป็นจุดศูนย์รวมการบริหารจัดการต่างๆ ของชุมชน ทั้ง 20 ชุมชน
โครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อให้องค์การบริหารชุมชนสามารถบริหารจัดการชุมชนได้ด้วย
ตนเอง โดยได้มีการปรับระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะมีประธานสภา
ชุมชนซึ่งเลือกตั้งมาจากประธานองค์การบริหารชุมชน ทั้ง 20 ชุมชน และมีคณะกรรมการ
สภาองค์การบริหารชุมชนทั้ง 20 ชุมชนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสภาชุมชน มีการกำหนด
รูปแบบการประชุมสภาชุมชนเมืองร่วมกันทั้ง 20 ชุมชน ในทุกๆ เดือน สลับกันไปแต่ละ
ชุมชน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ข้อมูลการพัฒนา เสนอแนวทาง
การพัฒนา/โครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน
คณะกรรมการสภาชุมชนเมือง จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เทศบาลและผู้เกี่ยวข้องสามารถ
ตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในชุมชนทั้ง 20 ชุมชนได้อย่างรวดเร็ว
โดยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองทุ่งสงทุกกอง จะเข้าร่วมประชุมกับ
สภาชุมชน เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนา สภาชุมชนจะเสนอข้อคิดเห็นในการพัฒนา
ร่วมให้ข้อมูลในการพัฒนา เสนอโครงการ ตัดสินใจในการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาชุมชน
ด้านต่างๆ โดยมีแนวทาง ดังนี้
1) กรณีมีปัญหา/ข้อเสนอ/โครงการ ที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการเองได้ เทศบาล
จะนำไปแก้ไขให้ตามขอบเขตของปัญหา หากสามารถดำเนินการได้ทันที เช่น ด้านโครงสร้าง
พื้นฐานเล็กๆ ด้านการบริหารจัดการชุมชน ฯลฯ ซึ่งใช้งบประมาณไม่สูง เป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์
รางวัลพระปกเกล้า’ 64