Page 55 - 22221_Fulltext
P. 55
โครงการหลาดชุมทางทุ่งสง
เทศบาลเมืองทุ่งสง ได้เล็งเห็นปัญหาย่านการค้าที่ซบเซาลง เนื่องจากมีการขยาย
ย่านการค้าขยายออกสู่พื้นที่รอยต่อเมืองและนอกเมือง ทำให้ย่านการค้าเดิมถูกลดบทบาท
ประกอบกับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวในช่วง 4-5 ปีหลัง ส่งผลกระทบทาง
เศรษฐกิจต่อประชาชนในอำเภอทุ่งสงโดยส่วนใหญ่ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของ
เมืองทุ่งสง ยังส่งผลให้สภาพสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามค่อยๆ สูญหายไปขาด
การถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ จากเหตุผลดังกล่าวเทศบาลเมืองทุ่งสง จึงพยายามหาแนวทาง
แก้ไขเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเมืองโดยเร็ว โดยมีการประสานงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกัน
แสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำมาสู่การฟื้นฟูและพัฒนาเมืองด้วยทุนทาง
วัฒนธรรมชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณค่าทางวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง สร้างคุณค่าเพิ่ม
ทางเศรษฐกิจและสังคม
การดำเนินการในโครงการหลาดชุมทางทุ่งสงจึงเกิดขึ้น และเป็นการต่อยอดขยายผล
การพัฒนาเมืองด้วยทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ตามผังและแผนที่วัฒนธรรมที่กำหนดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
๏ การนำทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น
๏ พัฒนาศักยภาพทางวัฒนธรรมที่มีมาอยู่ก่อนในพื้นที่ย่านวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่า
ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
๏ บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างระบบการพัฒนาเมือง
ในการดำเนินงาน เทศบาลเมืองทุ่งสงบูรณาการสานพลังสามภาคส่วน คือ
ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กว่า 90 หน่วยงาน โดยสร้างกลไก
ประชาคมวัฒนธรรมเมืองทุ่งสงร่วมกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการพัฒนาต่างๆ
มีการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของโดยกระบวนการมีส่วนร่วมดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งนำไปสู่
การดำเนินการที่มีความโปร่งใส เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ มีการกำหนดกฎ กติกา
ของตลาด มีการรายงานผลการดำเนินงาน มีการจัดทำบัญชี รายรับจ่าย มีการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร มีการติดตามประเมินผลโครงการ
พื้นที่จัดกิจกรรม “หลาดชุมทางทุ่งสง” ตั้งอยู่บนถนนชัยชุมพล ความยาว 160 เมตร
พื้นที่รวม 2,275 ตารางเมตร แบ่งโซนพื้นที่ ดังนี้ โซน A กิจกรรมนันทนาการ ดนตรี และ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64