Page 64 - 22221_Fulltext
P. 64

และรับทราบเป็นอย่างดีว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีนั้นมาจากอาหารที่ปลอดภัย สะดวก
                  สะอาด ประหยัดทั้งเงินและเวลา อีกทั้งสามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหรือ
                  คนในชุมชนด้วยการแบ่งปันผลผลิตต่อกันหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เสริมได้

                       ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากเทศบาลตำบลเกาะคาร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อม

                  ภาคที่ 2 ลำปาง ผู้นำชุมชน นักจัดการสุขภาพ และอาสาสมัครได้ร่วมกันจัดเวที
                  ข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด นำเสนอปัญหาการไม่บริโภคผักหรือบริโภคต่ำกว่าเกณฑ์ของกระทรวง
                  สาธารณสุขและมักซื้อผักที่มีสารพิษตกค้างในท้องตลาด จากที่ประชุมจึงร่วมกันสรุปให้มี

                  การทำกิจกรรมปลูกผักในสวนโดยเริ่มที่บ้านผู้นำชุมชน สมาชิกเทศบาล อาสาสมัครและ
                  นักจัดการสุขภาพและเชิญชวนผู้ที่มีที่ว่างเข้าร่วมโครงการ

                       ผลจากการผลักดันแนวคิดในโครงการดังกล่าวทำให้มีสมาชิกจากทุกชุมชน (7 ชุมชน)
                  เข้าร่วมโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการตู้เย็นพอเพียง ตู้เย็นในสวนจากเดิม 145 หลังคา

                  เรือน คิดร้อยละ 7.4% ปัจจุบันมีผู้เข้าโครงการ จำนวน 1,609  หลังคาเรือน คิดเป็น
                  82.8% ของครัวเรือนที่มีอยู่จริง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักที่ใช้ประกอบอาหาร
                  ในแต่ละวันเฉลี่ยหลังคาเรือนละ 20 บาท/วัน นอกจากนี้ สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมปลูกผัก
                  ปลอดสารพิษ มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเทศบาลหรือใช้ปุ๋ยจากกลุ่มในหมู่บ้านที่ทำขึ้นกันเอง

                  โดยแต่ละหลังคาเรือนจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 7 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 100
                  ของผู้เข้าร่วมโครงการ และมีผู้ปลูกพืชผักไว้บริโภคเองในครัวเรือนในแต่ละชุมชนมีมากกว่า
                  ร้อยละ 80































                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69