Page 67 - 22221_Fulltext
P. 67
เป็นผู้ด้อยค่าในตำบลเกาะคา มีการติดตามดูแลจากจิตอาสาเป็นประจำทุกอาทิตย์ ผู้พิการ
ที่สามารถประกอบอาชีพได้ ได้รับการฝึกอาชีพสร้างงานเพิ่มรายได้ จำนวน 98 คน ได้รับ
การช่วยเหลือกายอุปกรณ์ จำนวน 42 คน ช่วยเหลือด้านกู้ยืมเงินจากกองทุนคนพิการ จำนวน
3 คน ช่วยเหลือในการซ่อมแซมบ้าน ปรับสภาพแวดล้อม จำนวน 60 คน สังคมมีคุณภาพ
มากขึ้นจากการมีจิตอาสาดูแลผู้พิการในพื้นที่ จำนวน 35 คน และมีการก่อสร้างโครงสร้าง
พื้นฐานรูปแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) จำนวน 7 แห่ง
ผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ คือ ชุมชนตำบลเกาะคาเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นสังคมแห่ง
จิตอาสาและสังคมแห่งคุณธรรม บรรดาจิตอาสาทำงานด้วยความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น
ซึ่งประกอบด้วยบุคคลทุกช่วงวัย ที่เข้าไปช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ทำให้เกิด
เป็นสังคมที่ห่วงใยเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน สังคมได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง
เท่าเทียมและทั่วถึง สามารถเข้าถึงสิทธิทางสังคมที่พึงมีและการบริการที่มีประสิทธิภาพอย่าง
สะดวก มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความโดดเด่นและเป็นเลิศของโครงการดังกล่าว คือ
กระบวนการมีส่วนร่วมจากคนชุมชนและเทศบาลที่คิดค้นและวางหลักโดยใช้ 2 เงื่อนไข
รอบรู้ คือ การใช้ความรู้แบบเข้าใจ เข้าถึงความต้องการของคนพิการ ทำให้ใช้ชีวิตและบริการ
สาธารณะได้อย่างสะดวกสบาย การมีคุณธรรม คือ ไม่ปล่อยหรือนิ่งเฉยถึงความทุกข์ยาก
ของผู้พิการ ช่วยเหลือผู้พิการให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข ปลอดภัย และ
ทำกิจกรรมต่างๆ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64