Page 72 - 22221_Fulltext
P. 72

1



                       ๏ ขั้นตอนการประสานความร่วมมือ (Co-ordination) : การสร้างความร่วมมือ
                  ในรูปแบบของคณะทำงานภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ร่วมกันกับเทศบาล เพื่อเป็น
                  คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือและสร้างการพัฒนา

                  เมืองเวียงเทิงในรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน

                       ๏ ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluation) : การมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์
                  รูปแบบ และการตรวจสอบการทำงานตามแผนงาน/โครงการต่างๆ ร่วมกับประชาชนทุก
                  ภาคส่วน เช่น การแต่งตั้งผู้แทนจากภาคีเครือข่ายท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน

                  และประชาชน เข้าร่วมเป็นคณะทำงานติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการต่างๆ จากนั้น
                  จึงรายงานผลให้ประชาชนทราบในทุกช่องทาง

                       จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนากิจกรรม/โครงการ
                  ที่มาจากภาคประชาชนเพื่อประชาชน เกิดเป็นสังคมจิตสาธารณะ ทุกคนต่างรู้สึกเป็นเจ้าของ

                  พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำมาสู่การเกิดขึ้นของเครือข่าย/กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มพลัง
                  เยาวชนสร้างสรรค์เวียงเทิง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนอนุรักษ์แม่น้ำอิง และกลุ่ม Thush Hero
                  @Thoeng ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “เทศบาลตำบลเวียงเทิงเป็นเมืองน่าอยู่ คนมีสุข
                  มีการเรียนรู้และพัฒนา บริหารจัดการก้าวหน้า รักษาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” นั่นเอง


                       สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นเลิศในด้านความโปร่งใสและ
                  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ของเทศบาลตำบลเวียงเทิง ได้แก่

                  โครงการคัดแยกขยะชุมชน


                       เทศบาลตำบลเวียงเทิงได้เผชิญกับสถานการณ์ความเป็นเมืองมากขึ้นภายหลังจากที่ได้
                  รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเวียงเทิง เมื่อปี พ.ศ. 2542 จนนำมาสู่การขยายตัวของเมือง
                  ออกไปโดยรอบ ซึ่งเป็นผลให้มีประชากรแฝงเข้ามาอาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่เทศบาล

                  มากขึ้น เกิดสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ ร้านค้า ทำให้เทศบาล
                  ตำบลเวียงเทิงประสบปัญหาขยะที่มากขึ้นตามไปด้วย ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ทำให้ทุกภาคส่วน
                  ในพื้นที่เริ่มตระหนักถึงความสำคัญ จนนำมาสู่การทำประชาคมเมืองร่วมกันทั้งฝ่ายเทศบาล
                  ภาคประชาชน และภาคเอกชน เกิดเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขึ้นมา

                  ซึ่งเป็นแผนแม่บทที่กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการขยะในพื้นที่อย่างครบวงจร ภายใต้
                  หลักการ 3R ที่ว่า “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือ Reduce Reuse Recycle”
                  ประกอบกับใช้เตาเผาขยะและวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในการกำจัดขยะ โดยมีกระบวนการ
                  จัดการขยะ 3 ระยะ ดังนี้



                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77