Page 77 - 22221_Fulltext
P. 77
๏ ประชาชนทั่วไป เริ่มต้นจากการทดลองใช้แอปพลิเคชันในหมู่บ้าน แล้วจึงขยายผล
การใช้งานแอปพลิเคชันไปยังหมู่บ้านต่างๆ และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขครอบคลุมเขต
พื้นที่เทศบาลตำบลเวียงเทิง ซึ่งการใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวประชาชนสามารถเข้ามารายงาน
ข้อมูลการจัดเก็บขยะ ข้อมูลน้ำเสีย การร้องเรียนร้องทุกข์ได้ตลอดเวลา
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนวัตกรรมโมเดลพลังเยาวชนสร้างสรรค์สู่
แอปพลิเคชันเพื่อเวียงเทิงน่าอยู่ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในพื้นที่เทศบาลตำบล
เวียงเทิง
๏ ด้านสังคม : ครัวเรือนในเขตพื้นที่กว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด
ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้บริการแอปพลิเคชัน ซึ่งในปี พ.ศ.2563 มีเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์และ
การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชัน จำนวน 210 ครั้ง และเทศบาลตำบลเวียงเทิงสามารถประสาน
งานและให้บริการได้ถึง 203 เรื่อง นับได้ว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวนี้เป็นช่องทางสื่อสารและ
ให้บริการประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเวียงเทิงได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้ง
เด็กและเยาวชนในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
๏ ด้านเทคโนโลยี : ประชาชนในพื้นที่ตอบรับนวัตกรรมและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน
การนำแอปพลิเคชันไปใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด หรือ 2,500 ครัวเรือน
จากครัวเรือนทั้งหมด 2,734 ครัวเรือน ซึ่งช่วยให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ด้าน
เทคโนโลยี
๏ ด้านเศรษฐกิจ : การนำแอปพลิเคชันมาช่วยในการให้บริการประชาชน
ทำให้เทศบาลตำบลเวียงเทิงสามารถลดค่าใช้จ่ายและลดจำนวนครั้งของการเก็บขยะที่เกิน
ความจำเป็นได้ เนื่องจากมีฐานข้อมูลระบบจัดเก็บและรวบรวมขยะจากครัวเรือนโดยตรง
อีกทั้งยังลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะอีกด้วย
ความโดดเด่นของนวัตกรรมโมเดลพลังเยาวชนสร้างสรรค์สู่แอปพลิเคชันเพื่อเวียงเทิง
เกิดขึ้นจากการทำงานในเชิงรุกร่วมกันของหลายภาคส่วน เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน
โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเวียงเทิง ภายใต้ข้อจำกัดด้าน
งบประมาณและบุคลากรของเทศบาล โดยมีภาคส่วนที่สำคัญ นั่นก็คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน
จิตอาสาพัฒนาเวียงเทิง ที่สามารถหล่อหลอมภาคส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันจนสามารถออกแบบ
แอปพลิเคชันเพื่อประชาชนชาวเวียงเทิงได้อย่างแท้จริง
รางวัลพระปกเกล้า’ 64