Page 75 - 22221_Fulltext
P. 75

โครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา


                     สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาของเทศบาล
               ตำบลเวียงเทิง เริ่มต้นมาจากความต้องการ

               ของชุมชนและผู้ปกครองที่เห็นถึงความสำคัญ
               ของการเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย
               อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

               จึงเริ่มต้นหารือร่วมกันเพื่อสร้างสนามเด็กเล่น
               ในชุมชนที่เด็กๆ สามารถมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เป็นสนามเด็กเล่นที่เหมาะสม ปลอดภัย
               และเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน

                     เทศบาลตำบลเวียงเทิงจึงดำเนินการสำรวจความต้องการในชุมชน โดยใช้หลัก “บวร –

               บ้าน วัด โรงเรียน” ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมผ่านคณะทำงานชุมชน ซึ่งมีหน้าที่สำรวจ
               ความต้องการในชุมชน ประสานระดมทรัพยากร ออกแบบเครื่องเล่น ประมาณราคาและ
               ควบคุมงานก่อสร้างสนามเด็กเล่น ซึ่งความโดดเด่นของสนามเด็กเล่นนี้ก็คือ ประชาชน
               ในชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบ โดยผู้ปกครองที่เป็นวิศวกรได้เข้ามาร่วมออกแบบงาน

               ก่อสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา แล้วนำแปลนที่ได้เป็นต้นแบบในการหารือกับประชาชน
               ในชุมชน ทำให้สนามเด็กเล่นมีฐานกิจกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะเด็ก 4 ฐาน ได้แก่
               (1) ฐานสระน้ำอินจัน เป็นฐานพัฒนาสมอง พัฒนาการทรงตัว และการคิดค้นประดิษฐ์จาก
               วัสดุธรรมชาติ (2) ฐานสระทารก เป็นฐานที่พัฒนาทักษะการเป็นนักวิทยาศาสตร์และ

               นักประดิษฐ์ (3) ฐานค่ายกล เป็นฐานพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาอารมณ์ และ
               (4) ฐานเรือสลัดลิง เป็นฐานพัฒนาจินตนาการถึงการผจญภัยอย่างอิสระ และมีมุมพักผ่อน
               อ่านหนังสือให้กับเด็ก สำหรับการก่อสร้างสนามเด็กเล่นนั้นได้อาศัยแรงงานและช่างฝีมือ
               ในชุมชน และประสานความร่วมมือจากกลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันก่อสร้าง

               สนามเด็กเล่นในชุมชน นอกจากนี้คณะกรรมการชุมชนยังได้จัดตั้งกองผ้าป่า เพื่อระดมทุน
               สำหรับก่อสร้างสนามเด็กเล่นอีกด้วย

                     ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาได้ก่อให้เกิด
               ประโยชน์อย่างมหาศาลแก่เด็กๆ ในชุมชน เพราะสนามเด็กเล่นได้กลายมาเป็นพื้นที่สำหรับ

               ฝึกทักษะ ฝึกฝนพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ และสร้างสรรค์จินตนาการให้แก่เด็ก
               ในชุมชนอย่างรอบด้าน อีกทั้งการดำเนินโครงการดังกล่าวยังเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม
               ของประชาชนและผู้ปกครองในชุมชนที่ร่วมกันสร้าง ร่วมกันออกแบบสนามเด็กเล่นเพื่อ
               ลูกหลานของตนเอง



             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80