Page 63 - 22221_Fulltext
P. 63

2



               รับทราบและเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบการทำงานได้อย่างสะดวกผ่านช่องทางต่างๆ
               ซึ่งแต่ละโครงการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นมีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงออกทางความคิด
               อย่างเต็มที่และให้คำแนะนำในการทำงานผ่านเวทีข่วงผญ๋า มีแกนนำหลักในการขับเคลื่อนงาน

               นั่นคือ กลุ่มนักวิจัยชุมชน ซึ่งมาจากการค้นหาบุคคลที่มีจิตอาสาประมาณ 2-5 คน
               นักวิจัยชุมชนมีหน้าที่ชวนคุย วิเคราะห์พื้นที่ ค้นหาปัญหาและนำเสนอข้อมูล
               จัดเวทีสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนร่วมกันเพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ “เกาะคา
               เมืองน่าอยู่ และน่าประทับใจอย่างแท้จริงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
               สิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน” ผลักดันให้ประชาชนเป็นพลังสำคัญ

               ร่วมกับเทศบาล เรียนรู้การทำแผนชุมชนและนำข้อมูลที่ได้กลับมาช่วยป้องกันและแก้ไข
               ปัญหาของชุมชนตนเอง ลดการพึ่งพาเทศบาลแต่เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับเทศบาล
               จนท้ายที่สุดเทศบาลตำบลเกาะคาได้กลายเป็น “เมืองเกาะคาน่าอยู่สำหรับทุกคนและ
               ผู้มาเยือนมีความประทับใจต่อความน่าอยู่ในมิติต่างๆ”


                     สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและ
               ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลตำบลเกาะคา ได้แก่

               โครงการ“ ตู้เย็นในสวน ตู้เย็นพอเพียง ”


                     จากฐานข้อมูลชุมชนของกลุ่มนักวิจัยชุมชนร่วมกับอาสาได้สุ่มสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ
               ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะคาเพื่อทำข้อมูลด้านการบริโภคผักพบว่า ประชาชน
               มากกว่าร้อยละ 70 ในทุกหมู่บ้านมีพฤติกรรมการบริโภคผักไม่ถึง 1/2 กิโลกรัมต่อวัน

               ซึ่งเป็นเกณฑ์ตามการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
               ที่ควรให้ประชาชนบริโภคผักอย่างน้อย 1/2 กิโลกรัมต่อวัน ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว
               เทศบาลตำบลเกาะคามีระบบการคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด

               มีการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนพันธุ์พื้นเมือง มีการทำปุ๋ยจากใบไม้และจาก
               เศษอาหาร ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของโครงการที่ต้องการผลักดันชุมชนให้ความสำคัญต่อ
               การบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือนโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้เองหรือกลุ่มในชุมชนที่มีอยู่
               เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกผัก สร้างรายได้
               เสริมให้กับครอบครัวและสามารถนำผักที่เหลือจากการบริโภคมาจำหน่ายเพื่อลดต้นทุน

               ในการซื้อผักมาบริโภคเพราะราคาผักในท้องตลาดค่อนข้างสูง

                     แนวความคิดของโครงการนี้ได้ส่งเสริมให้ทุกชุมชนมีการปลูกผักไว้กิน ไว้แลก แจกจ่าย
               ลดรายจ่ายครัวเรือน เน้นปลูกพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิด เพราะประชาชนทุกคนรับรู้




             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68