Page 281 - 22221_Fulltext
P. 281

2 0



                     1.  ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครนนทบุรีได้รับทราบ
               ผ่านทางเว็บไซต์ เสียงตามสายและสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ เพื่อค้นหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

                     2. การดำเนินโครงการในแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้


                       2.1 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการสัปดาห์ละ 1 หัวข้อ ในการดูแลสุขภาพและฟื้นฟู
               สมรรถภาพผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงให้กับ ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง จิตอาสา
               หรือผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น
               นักกายภาพบำบัด เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ แพทย์แผนไทย นักโภชนาการ


                       2.2 ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงโดย
               นักกายภาพบำบัดและจิตอาสาหรือผู้ดูแลที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับ
               การจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการสนใจ เช่น การตัดผมให้ผู้สูงอายุ
               การร่วมกันทำอุปกรณ์ออกกำลังกาย โดยแต่ละวันมีกลุ่มเป้าหมายเป็นจิตอาสาหรือผู้ดูแล

               และผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 10 คนต่อวัน โดยมีสถานที่ดำเนินการ 2 จุด
               ได้แก่ ชุมชนวัดตำหนักใต้ เปิดดำเนินการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 9.00 – 16.00 น. และ
               ชุมชนเอื้ออาทรประชานิเวศน์เปิดดำเนินการวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เวลา 8.30 –
               12.00 น.


                     3. สรุปผลของโครงการและประเมินผลการดำเนินโครงการ

                     ผลลัพธ์ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและบุคคล
               ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จากการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไปด้วยแบบสอบถาม
               EQ-5D 5 ด้าน เปรียบผลการประเมินก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ

               ทั้งชุมชนวัดตำหนักใต้ และชุมชนเอื้ออาทรประชานิเวศน์ จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
               3 ราย (รายที่ 1, 2, 3) มีคะแนนคุณภาพชีวิตทั่วไปที่ดีขึ้น เมื่อนำข้อมูลมาพิจารณาคะแนน
               การประเมินในแต่ละด้านก็พบว่าในแต่ละคนมีคุณภาพชีวิต อย่างน้อย 1 ด้านที่ดีขึ้นหรือ

               ไม่แย่ลงกว่าเดิม

                     ซึ่งจากผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้เข้าร่วม
               โครงการส่วนใหญ่ดีขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อม ดังนี้

                     ผลกระทบทางตรง ผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพิงพึ่งสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย

               ลดค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพและการเดินทาง โดยหากไม่มีการจัดตั้งโครงการนี้





             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286