Page 285 - 22221_Fulltext
P. 285

2



                     เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุมคณะกรรมการ และ
               ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย หน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชมรมวิชาชีพ
               สถานประกอบการ แหล่งเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพ คณะกรรมการชุมชน และ อสม. เพื่อ

               ชี้แจงแนวทางของการดำเนินโครงการ มีการทำบันทึกข้อตกลงการดำเนินงาน การแบ่งงาน
               ตามบทบาทหน้าที่ของภาคีเครือข่าย หลังจากนั้น อสม.จะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของเด็กและ
               เยาชนเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2563 จำนวน 10 คน เมื่อได้กลุ่ม
               เป้าหมายแล้ว นำเด็กและเยาวชนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมพบกลุ่มเพื่อปรับทัศนคติการใช้
               ชีวิตอยู่ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

               ตลอดทั้งโครงการ ภายใต้กิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมกีฬาสานสัมพันธ์เพื่อให้
               ห่างไกลยาเสพติด กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
               หลังจากนั้นจะให้เด็กและเยาวชนฯ เข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้เพื่อสร้างทางเลือก

               ในการศึกษาและอาชีพตามความสนใจและความถนัด เช่น สาขาช่างยนต์ขนาดเล็ก
               สาขาช่างไฟฟ้า สาขาช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ สาขาช่างเสริมสวย สาขาทำอาหาร และสาขา
               ช่างตัดผมชาย รวมทั้งกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพ ผลที่ได้รับคือ
               มีเด็กและเยาวชนเลือกเข้ารับอบรมประสบการณ์วิชาชีพเป็นช่างเสริมสวย 5 คน และ
               ช่างตัดผมชาย 5 คน เมื่อจบการอบรมแล้วเทศบาลมีการมอบวุฒิบัตรแก่เด็กและเยาวชน

               ที่จบหลักสูตร และหลังจากนั้นเมื่อเด็กเด็กและเยาวชนกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตในสังคมแล้ว
               เทศบาลจะมีการติดตามเป็นระยะๆ เพื่อทราบความเคลื่อนไหวและพฤติกรรม เพื่อไม่ให้
               เด็กกลับไปสู่ภาวะความเสี่ยงเช่นเดิมได้อีก

                     โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

               ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีการดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 – 2563 (รวม 8 รุ่น)
               ผลสำเร็จของโครงการคือทำให้เด็กนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยง สามารถกลับเข้าสู่
               ระบบการศึกษาปกติ ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและ

               ช่วยเหลือครอบครัวได้ สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระของ
               สังคมอีกต่อไป รวมทั้งเกิดเครือข่ายร่วมดำเนินการเพิ่มขึ้น คือสำนักงานกองทุนสนับสนุน
               การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งร่วมดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน














             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290