Page 286 - 22221_Fulltext
P. 286

2



                  โครงการ “บ้านมั่นคง สังคมมีสุข”
























                       เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านที่อยู่อาศัย และแก้ปัญหาชุมชนแออัด

                  ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ชุมชนแออัดดังกล่าวยังตั้งอยู่บนพื้นที่โบราณ
                  สถานแนวคูเมืองกำแพง ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งปัญหาหลักคือการขาดแคลนหรือ
                  ความไม่เพียงพอต่อความต้องการที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มาตรฐาน และความไม่มั่นคง
                  ในที่ดิน รวมทั้งการไม่มีกรรมสิทธิ์ในการอยู่อาศัย ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลให้เกิด
                  ปัญหาชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุกกระจัดกระจาย เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจึงได้วางแนวทาง

                  ในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดเฉพาะผู้ด้อยโอกาส
                  ทางสังคม ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มองค์กรชุมชน ได้แก่
                  กรมศิลปากร กรมธนารักษ์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การหาชน) สำนักงานพัฒนา

                  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส
                  ทางสังคม ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ได้มีบ้านที่มีสภาพเหมาะสมกับการอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิต
                  ความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น

                       โครงการ “บ้านมั่นคง สังคมมีสุข” มีการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ

                  เมืองเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยมีแกนนำที่ประกอบด้วยภาครัฐและภาคประชาชนร่วมกัน
                  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนร่วมสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการสนับสนุนงบประมาณ
                  กรมศิลปากรตรวจพื้นที่เยี่ยม และร่วมหารือในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และการบุกรุก
                  พื้นที่โบราณสถานแนวคูเมืองกำแพง เทศบาลทำหน้าที่ในการประสานงานสำนักงานธนารักษ์
                  พื้นที่ร้อยเอ็ดเพื่อขอเช่าพื้นที่ราชพัสดุ โดยข่ายบ้านมั่นคงภาคอีสาน และสถาบันพัฒนา






                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291