Page 278 - 22221_Fulltext
P. 278

2



                         3.2 แบ่งผู้เข้าร่วมโครงการเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน จัดกิจกรรมเดือนละ
                  1 ครั้ง จำนวน 10 เดือน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มย่อย คนละ
                  1 ครั้ง กิจกรรมแบ่งเป็น 5 ฐาน ได้แก่ 1) ประเมินภาวะไตเสื่อมและให้ความรู้เกี่ยวกับ

                  โรคไตเรื้อรัง 2) ความรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต 3) ความรู้เรื่องโภชนบำบัดสำหรับ
                  ผู้ป่วยโรคไต 4) ความรู้เรื่องการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไต 5) ความรู้เรื่องการแพทย์
                  แผนไทยสำหรับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านการร่วมกิจกรรมให้ครบทั้ง
                  5 ฐาน เมื่อเสร็จสิ้นการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม จะทำการนัดเจาะเลือดประเมินภาวะไตเสื่อม
                  หลังเข้าอบรม


                         3.3 จัดอบรมให้ความรู้และสรุปผลประเมินตามโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                  ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน
                  200 คน


                       ผลของการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมก่อให้เกิด
                  ผลดีต่อประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี ดังนี้

                       1.  เป็นโครงการที่ทำให้เกิดผลเชิงประจักษ์ด้านทักษะการจัดการตนเอง โดยชะลอ
                  การเสื่อมของไตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) ทำให้

                  ผู้เข้าร่วมโครงการมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองในด้านสุขภาพ และนำทักษะไปปรับใช้กับ
                  บุคคลในครอบครัว คงไว้ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างถาวร ส่งผลให้มีคุณภาพ
                  ชีวิตที่ดีขึ้น






























                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283