Page 240 - 22221_Fulltext
P. 240

2



                       สำหรับเครือข่ายสนับสนุนของโครงการมีดังต่อไปนี้

                       1) เครือข่ายเหลืองทั้งตำบลหมู่ที่ 1-9 เครือข่ายวัดนาพรม และเครือข่ายผู้สูงอายุ
                  ดำเนินการปลูกต้นทองอุไร ทานตะวัน และราชพฤกษ์ตามริมถนนและริมคลองในพื้นที่
                  รับผิดชอบ โดยนำขยะเปลือกไข่มาใส่ก้นหลุมเพาะปลูกเพื่อเป็นสารอาหารให้แก่ต้นไม้
                  รวมถึงปรับปรุงภูมิทัศน์ รดน้ำพรวนดิน และกำจัดวัชพืชรอบบริเวณดังกล่าว

                       2) เครือข่ายชุมชนหมู่ที่ 6 นำขยะเปลือกไข่มาใช้เป็นปุ๋ยปลูกต้นไม้ เพื่อจัดการขยะ

                  ในชุมชน ลดการนำขยะเข้าชุมชน และทำความสะอาดชุมชนทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน

                       3) เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข นำความรู้จากโครงการไปขยายผลในหมู่บ้าน
                  และแนะนำประชาชนด้านการนำขยะจากเปลือกใข่มาใช้ปลูกต้นไม้

                       ผลของการดำเนินโครงการนี้คือ ภูมิทัศน์โดยรอบตำบลนาพันสามทั้งริมถนนและ
                  ริมคลองสายต่างๆ ได้รับการปรับปรุงให้สวยงามขึ้น จากต้นไม้ที่ให้ดอกสีเหลืองประมาณ
                  13,000 ต้น ส่งผลให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวในตำบล 2 แห่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ตำบล
                  ประมาณ 3,000 คน สร้างเงินหมุนเวียนประมาณ 1,000,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจของ

                  ตำบลนาพันสามและของจังหวัดเพชรบุรีให้ตื่นตัวยิ่งขึ้น

                       นอกจากนั้น โครงการนี้ยังสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนรู้จักคุณค่าของขยะ และรู้จักนำขยะ
                  โดยเฉพาะขยะเปลือกไข่ มาใช้ประโยชน์และต่อยอดด้านต่างๆ แทนที่จะปล่อยทิ้งเป็นขยะ
                  รอการทำลายเท่านั้น

                  โครงการเครือข่ายเรือมาด


                       โครงการเครือข่ายเรือมาดขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม เป็นโครงการ

                  ที่ดำเนินการเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการใช้ “เรือมาด” เรือที่ชาวตำบลนาพันสามในอดีตใช้เป็น
                  ยานพาหนะในการเดินทางและขนส่ง เนื่องจากปัจจุบันมีชาวนาพันสามใช้เรือมาดน้อยลง
                  ขณะที่เรือมาดที่หลงเหลืออยู่ก็ไม่ได้รับการดูแล จนมีสภาพทรุดโทรม ไม่สามารถนำมาใช้
                  ประโยชน์โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างอุทกภัยได้ องค์การบริหารส่วนตำบล
                  นาพันสามร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในตำบลจึงร่วมกันดำเนินโครงการนี้เพื่อรักษาเรือมาด

                  ไว้ในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรมประจำตำบลนาพันสาม โดยการจัดตั้ง “เครือข่ายเรือมาด”
                  มาทำหน้าที่ดังกล่าว ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรือมาดให้สาธารณชนศึกษา
                  รับบริจาคเรือมาด ซ่อมบำรุงเรือมาด และสร้างประเพณีเกี่ยวกับเรือมาด ด้วยการจัด

                  การแข่งขันเรือมาดชิงธงเป็นประจำทุกปี




                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245