Page 238 - 22221_Fulltext
P. 238

2



                       8) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองใหญ่ นำความรู้มาทำเปลือกไข่ไล่แมลง ปุ๋ยเปลือกไข่
                  เปลือกไข่รองหลุมปลูกต้นไม้ริมถนนและคลอง ใส่นาข้าว และขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น
                  ในชุมชนใกล้เคียง

                       9) กลุ่มจิตอาสาโควิด นำความรู้และเปลือกไข่เหลือใช้ในตำบลมาประยุกต์ใช้เป็น

                  สิ่งประดิษฐ์

                       ผลลัพธ์ของโครงการนี้คือ ขยะจากเปลือกไข่จำนวน 1,500 กิโลกรัม/วัน ถูกจัดสรร
                  ให้บรรดาเครือข่ายนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่


                       1) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย แคลเซียมสำหรับเลี้ยงสัตว์ (กุ้ง นก และ
                  วัว) ปุ๋ยเปลือกไข่ และเปลือกไข่สำหรับปลูกต้นไม้และไล่แมลง

                       2) ผลิตภัณฑ์ด้านอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย สบู่เปลือกไข่ เจลแอลกอฮอล์ และ

                  เปลือกไข่ลดขมสำหรับผสมกาแฟชง

                       3) ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์และของที่ระลึก ประกอบด้วย พวงกุญแจเรซิน สวนถาด
                  กระเช้า แจกัน กรอบรูป และโมบาย

                       โดยปริมาณเปลือกไข่ที่ใช้แปรรูปในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น แบ่งเป็น 1,490 กิโลกรัม/วัน

                  สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 10 กิโลกรัม/วัน สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านอุปโภคบริโภค
                  สิ่งประดิษฐ์ และของที่ระลึก
























                  บรรยากาศในศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปขยะเปลือกไข่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม





                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243