Page 237 - 22221_Fulltext
P. 237
2
สำหรับเครือข่ายสนับสนุนของโครงการมีดังนี้
เครือข่ายที่มาให้ความรู้ด้านการแปรรูปขยะเปลือกไข่
1) มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลพระนคร ให้ความรู้เชิงวิชาการด้านการแปรรูป
ขยะเปลือกไข่
2) สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองเพชรบุรี
ให้ความรู้เชิงวิชาการด้านการแปรรูปเปลือกไข่เป็นสิ่งประดิษฐ์จากเปลือกไข่
3) เกษตรอำเภอ ให้ความรู้ด้านการแปรรูปขยะเปลือกไข่เป็นปุ๋ยใส่ในนาข้าวและ
ทำปุ๋ยหมักเปลือกไข่
เครือข่ายที่นำความรู้และแนวคิดโครงการไปประยุกต์ใช้หรือขยายผล
1) โรงเรียนบ้านดอนมะขามช้าง โรงเรียนวัดนาพรม ศูนย์พัฒนาเล็กเด็กวัดนาพรม
และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดอนมะขามช้าง นำความรู้จากโครงการไปจัดหลักสูตรการเรียน
การสอน และส่งเด็กมาเข้าร่วมโครงการ
2) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพันสาม และ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนมะขามช้าง นำความรู้มาประยุกต์ทำสบู่จากเปลือกไข่
และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้อื่น
3) ชมรมแม่บ้าน นำความรู้และสิ่งเหลือใช้จากเปลือกไข่มาประยุกต์เป็น
เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ กระเช้าแทนใจ และปุ๋ยสำหรับเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
4) ชมรมผู้สูงอายุ นำความรู้และเปลือกไข่มาใช้กรองน้ำมัน ทำกระถางปลูกต้นไม้
และทำแคลเซียมสำหรับวัวและนก
5) ผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลนาพันสาม นำสิ่งเหลือใช้จากเปลือกไข่ในตำบลมารองหลุม
ปลูกต้นไม้ริมถนนและคลอง
6) วัดนาพรมและวัดดอนมะขามช้าง นำแนวคิดแปรรูปเปลือกไข่ไปนำเสนอต่อ
ที่ประชุมเสวนาสภา
7) กลุ่มชาวนา นำสิ่งเหลือใช้จากเปลือกไข่ในตำบลมาประยุกต์ใช้ในนาข้าว และ
ขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่นในชุมชนใกล้เคียง
รางวัลพระปกเกล้า’ 64