Page 243 - 22221_Fulltext
P. 243

2 2



               ซึ่งผู้นำแต่ละหมู่บ้านจะรวบรวมข้อมูลมาให้ในเวทีประชุมประชาคมประจำเดือนของกำนัน/
               ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ ท้องที่ และท้องถิ่น จนเกิดเป็นปัญหาและความต้องการ
               ของทั้ง 17 หมู่บ้าน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม

               อันก่อให้เกิดแผนพัฒนาระดับตำบลแบบบูรณาการร่วมกันและเกิดความต้องการของชุมชน
               อย่างแท้จริง

                     สร้างที่ 3 สร้างแผนงานโครงการและกิจกรรม โดยกำหนดแผนงานโครงการร่วมกัน
               ทั้งตำบลและเครือข่าย ผ่านรูปแบบวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย

               การวางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Do) ตรวจสอบ (Check) และปรับปรุง พัฒนา (Act) ซึ่งมี
               เป้าหมายในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมไปพร้อมกัน

                     สร้างที่ 4 สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ผ่านการจัดการข้อมูลและการจัดการเรียนรู้ของ
               ตำบล โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) ฐานข้อมูลจากชุมชน (2) ฐานข้อมูลจากระบบงาน

               ของภาครัฐ นำมาผ่านกระบวนการสร้าง คิด วิเคราะห์ และพัฒนาจนเกิดนวัตกรรมที่เป็น
               ประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ นวัตกรรมชุมชนปลอดเหล้า ปลอดอุบัติเหตุ ของบ้านดอนแก้ว/
               นวัตกรรมแก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลร่องเคาะ/วัดต้นแบบ
               การจัดการขยะ/ส่วนราชการปลอดขยะ ฯลฯ






































             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248