Page 180 - 22221_Fulltext
P. 180
1
โครงการชุมชนปลอดโรค ชุมชนปลอดภัย
เนื่องจากในเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียงเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมาก
ซึ่งพบมากในกลุ่มคนอายุ 10-25 ปี และกลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ คือ เด็ก และ
ผู้สูงอายุ ปัญหาของการแพร่ระบาดมักเกิดจากการเดินทาง การเคลื่อนย้ายถิ่น และภาชนะ
ต่างๆ มีน้ำขัง ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายจึงเกิดการแพร่ระบาดของโรค ส่งผล
ให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขของท้องถิ่น เทศบาลตำบลแม่สะเรียงจำเป็นต้องแก้ปัญหา
ดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน จึงก่อให้เกิดเครือข่ายร่วมป้องกัน จึงได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการซึ่งมีนายอำเภอเป็นประธาน และภาคีเครือข่ายร่วมเป็นคณะกรรมการ
โดยเทศบาลเป็นเจ้าของพื้นที่ มีหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ในการลงพื้นที่ควบคุมโรค
มีการสุ่มสำรวจในชุมชน อสม. จะเป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกับเทศบาลเพื่อฉีดพ่นยาฆ่า
ตัวอ่อนยุงลาย แล้วจัดทำรายงานส่งให้กับโรงพยาบาลแม่สะเรียง ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วย อาสาสมัคร
ชุมชนจะทำการแจ้งสาธารณสุขภายใน 3 ชม. รวมทั้งการแจ้งข้อมูล การดำเนินการควบคุม
ต้องทำภายใน 1 วัน โดยมี อบจ.แม่ฮ่องสอนเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกัน และ
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงร่วมสนับสนุนเครื่องพ่นยาพร้อมอุปกรณ์ จากการ
ดำเนินงานด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
ไม่พบผู้ป่วยใหม่ และไม่มีการระบาดออกไปนอกพื้นที่ซึ่งทางเทศบาลได้จัดเก็บข้อมูลและสถิติไว้
การดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก มาตรการเร่งรัดควบคุมโรคจากปลัดกระทรวง
สาธารณสุขตามมาตรการ 3-3-1 ขั้นที่สอง คือ การใช้ Application เพื่อส่งข้อมูลการสำรวจ
ลูกน้ำยุงลายของ อสม. กับโรงพยาบาลแม่สะเรียง ด้วยการส่งทุกวันศุกร์และทุกสิ้นเดือน
ขั้นที่สาม คือ เทศบาลตำลแม่สะเรียงสร้างเครือข่ายในชุมชน ให้ชุมชนดูแลตนเองเพื่อแบ่งเบา
ภาระของ อสม. โรงพยาบาลแม่สะเรียง และเทศบาลตำบลแม่สะเรียง เช่น สำรวจลูกน้ำ
ยุงลายส่ง อสม.ในเขตรับผิดชอบของเครือข่าย เช่น โรงเรียน โรงงาน หอพัก เป็นต้น
รางวัลพระปกเกล้า’ 64