Page 181 - 22221_Fulltext
P. 181

1 0



                     ความสำเร็จของการดำเนินงาน คือ ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักใน
               การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในครัวเรือนของตนเอง เกิดการพัฒนารูปแบบ
               การป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน เกิดการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

               ในการจัดการโรคระบาดด้วยตนเอง เกิดความร่วมมือ การมีส่วนร่วม และภาคีเครือข่าย
               ในการดำเนินการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาดในชุมชน และความสำเร็จในด้าน
               นวัตกรรมการต่อยอด คือ ชุมชนมีการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและ
               ภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบ และมีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคและภัยสุขภาพลดลง ชุมชน
               มีการควบคุมและป้องกันโรคทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องทั้งในชุมชนและหมู่บ้าน เกิดเครือข่าย

               ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

               โครงการอาสาป้องกันสาธารณภัย “เพื่อนช่วยเพื่อน”
               ภายใต้แนวคิดรู้แล้วรอด


                     ลักษณะพื้นที่ของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 90
               เป็นภูเขา ในช่วงฤดูฝนจึงเกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มเข้าสู่หมู่บ้าน ชุมชน และ
               ปิดทับเส้นทางสัญจรมาโดยตลอด และเมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรง

               ณ อาคารปฏิบัติธรรมของวัดในพื้นที่ซึ่งเป็นไม้สักทั้งหลัง ส่งผลให้เกิดความเสียหายโดยมี
               มูลค่ามากกว่า 75 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ เทศบาลตำบลแม่สะเรียงจึงริเริ่มประสานภาคี
               เครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตอำเภอและจัดทำ “โครงการอาสา

               ป้องกันสาธารณภัย “เพื่อนช่วยเพื่อน” ภายใต้แนวคิด “รู้แล้วรอด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
               ร่วมกันป้องกันการเกิดเหตุ ให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุ และฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ

                     เครือข่าย ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง ตำรวจ ทหาร
               โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรอำเภอ หน่วยงานปกครองในระดับจังหวัดและอำเภอ

               สมาคมนักข่าว ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน อสม. อปพร. และสมาชิกกู้ภัย เกิดเป็นเครือข่าย
               ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นที่ ระดับท้องถิ่น และระดับอำเภอ ทั้งนี้ เทศบาลตำบล
               แม่สะเรียงได้เป็นแกนกลางในการประสานและถักทอเครือข่ายโดยสร้างการรับรู้ปัญหาร่วมกัน
               กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันตัดสินใจ
               ร่วมกันแก้ไขปรับปรุง มีการเกื้อหนุนพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

               หรือองค์ความรู้ในการดำเนินงานร่วมกัน









             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186