Page 183 - 22221_Fulltext
P. 183
1 2
กิจกรรมการดำเนินงานของเครือข่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การดำเนินงาน
ก่อนเกิดเหตุ การดำเนินงานขณะเกิดเหตุ และการดำเนินงานหลังเกิดเหตุ โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
๏ การดำเนินงานก่อนเกิดเหตุ ได้แก่ การฝึกอบรมการจัดการภัยพิบัติแบบ
มีส่วนร่วม การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือขณะเกิดเหตุและการฟื้นฟู
หลังเกิดเหตุ การวางแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การซ้อมแผนป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย การจัดเตรียมพร้อมด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร กำหนดวิธีการ
แจ้งเตือนภัย การแต่งตั้งมิสเตอร์เตือนภัยประจำหมู่บ้าน และการประชาสัมพันธ์
ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
๏ การดำเนินงานขณะเกิดเหตุ ศูนย์เฉพาะกิจประสานขอความร่วมมือไปยังองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ที่สุดเพื่อลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ และมีการประสานหน่วยงานอื่น
หากเกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเครือข่าย
๏ การดำเนินงานหลังเกิดเหตุ ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพพื้นที่และเยียวยาสภาพจิตใจ
ของประชาชน หากจำเป็นมีการขอรับเงินบริจาคและสิ่งของที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือและเยียวยา
ผู้ประสบภัย
การรวมตัวเป็นเครือข่ายเป็นการผนึกกำลังที่ก่อให้เกิด “พลังทวีคูณ” หรือผลลัพธ์ที่ได้
จากการทำงานเป็นเครือข่ายดีกว่าผลรวมที่เกิดจากการปล่อยให้ต่างคนต่างทำแล้วนำผลลัพธ์
ของแต่ละคนมารวมกัน ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดเพราะโครงการอาสาป้องกัน
สาธารณภัย “เพื่อนช่วยเพื่อน” ภายใต้แนวคิดรู้แล้วรอดทำให้เกิดเครือข่ายด้านการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยในอำเภอแม่สะเรียงที่มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และ
ประสิทธิผล กล่าวคือ เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะความสามารถ เข้าถึงพื้นที่
เกิดเหตุได้รวดเร็ว ให้ความช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้น และลดจำนวนผู้เสียชีวิตและ
ความเสียหายได้มากขึ้น รวมถึงเกิดการคุ้มค่าด้านการใช้ทรัพยากรทั้งงบประมาณ วัสดุ
อุปกรณ์ และกำลังคนร่วมกันระหว่างเครือข่าย นอกจากนี้ เครือข่ายด้านการป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยในอำเภอแม่สะเรียงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพราะเทศบาล
ตำบลแม่สะเรียงในฐานะผู้เชื่อมโยงประสานภาคีเครือข่ายได้มุ่งขยายสมาชิกเครือข่าย
ให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้นและวางแผนการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเป็นทางการ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64