Page 175 - 22221_Fulltext
P. 175
1
ความสำเร็จของการดำเนินงาน
จากผลการดำเนินงานโดยการใช้กระบวนการทำงานที่เทศบาลตำบลยางเนิ้ง ได้อาศัย
วิธีการสร้างเครือข่าย โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือกับประชาชน
เชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคม ให้เข้ามามีเป้าหมายร่วมกันในการอนุรักษ์
ต้นยางนา และประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ต้นยางนาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และ
การสร้างจิตสำนึกการอยู่ร่วมกันของทรัพยากรธรรมชาติกับชุมชน โดยเทศบาลจัดการ
ประชุมรับฟังความคิดเห็น สร้างกรอบแนวคิดในการดูแลรักษาและฟื้นฟูต้นยางนาบนถนน
สายเชียงใหม่-ลำพูน ต้นยางนาสองข้างทางจึงได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างถูกหลักการ ทำให้
ต้นยางนามีสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น และเกิดผลการดำเนินงานดังนี้
1. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวัง กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา ที่ดำเนินการสำรวจต้นยางนา
และเฝ้าระวังภัย ตามโครงการฟื้นฟูระบบรากต้นยางนาฯ ของเครือข่ายเชียงใหม่
เขียว สวย หอม จึงทำให้ต้นยางนามีสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น จากการสำรวจประเมินความเสี่ยง
เดิมระหว่างปี 2560-2561 ที่กิ่งยางมีกิ่งชำรุดเฉลี่ยปีละ 122 ต้น ในปี 2562 มีกิ่งยางที่มี
ความเสี่ยงจากการสำรวจของอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา เหลือเพียง 95 ต้น โดยองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้ามาตัดแต่งกิ่ง ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชนและผู้ใช้เส้นทาง เกิดการส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมืองให้สวยงาม
2. การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลต้นยางนาตำบลยางเนิ้ง ณ ชั้นสอง อาคารสำนักงานเทศบาล
ตำบลยางเนิ้ง เพื่อเป็นสถานที่เก็บข้อมูล เนื้อหาทางวิชาการ และศึกษาดูงาน และเป็น
สถานที่จัดการประชุมอย่างมีส่วนร่วมกับทุกหน่วยงาน
3. การพัฒนาเครือข่าย เกิดเครือข่ายเยาวชนขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม เยาวชนจิตอาสา
เยาวชนหมอต้นไม้ และสภายางนาที่เป็นกลไกเชื่อมร้อยอาสาสมัคร ประชาชน และ
หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยกันเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
ต้นยางนา และร่างกองทุนยางนา
4. ต้นยางนาที่ได้รับการอนุรักษ์ในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง จำนวน 252 ต้น
ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูถูกต้องตามหลักวิชาการ ลดความเสี่ยงและความสูญเสียต่อชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชน เปรียบเทียบจากการหักโค่นของต้นยางในปี 2559 โดยในปี 2562
ไม่มีต้นยางหักโค่น หรือสร้างความเสียหายต่อประชาชน
รางวัลพระปกเกล้า’ 64