Page 173 - 22221_Fulltext
P. 173
1 2
๏ มีการอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบสานวัฒธรรมประเพณีล้านนา
๏ ประชาชนได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ มีคุณธรรมจริยธรรม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
๏ สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
๏ ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการและโครงการเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
และจะต้องยึดถือไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เครือข่ายโครงการอนุรักษ์ต้นยางนา (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน)
ต้นยางนาสองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ถือเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของ
ชาวอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ปี มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์ มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ช่วยทำให้ภูมิทัศน์เมือง
มีความสวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวชม ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และ
ยังเป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนาสำหรับใช้ขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ไม้หรือใช้ในการศึกษาวิจัย
เขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง สองฝั่งถนนต้นยางนาเชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่
คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อมี
การเจริญเติบโต ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนเป็นเส้นทางหนึ่งที่ความเจริญขยายตัวเข้ามา ทำให้
เกิดเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สองข้างถนนจากชุมชนชนบท สู่พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท สิ่งเหล่านี้
ทำให้ต้นยางนาถูกคุกคามจากกระแสการพัฒนาเมือง ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อม
ด้วยสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของต้นยางนา อยู่ในสภาพทรุดโทรม มีกิ่งแห้ง และบางต้น
ลำต้นหรือกิ่งเป็นโพรงผุ หรือเป็นแผลขนาดใหญ่ ต้นยางนาทรุดโทรม หักโค่นและล้มตายไป
อย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการขาดความรู้ในการดูแล และจากการกระทำของประชาชน
จึงทำให้เกิดกิ่งไม้หล่นใส่ประชาชนเมื่อมีลมพายุเมื่อเข้าฤดูฝน จากการสำรวจต้นยาง
ที่มีทั้งสาย 949 ต้น มีต้นยางนาในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ทั้งหมด 252 ต้น และ
ป่วยรุนแรงถึง 110 ต้น คิดเป็นร้อยละ 43.65 ซึ่งถือว่ามีสภาพไม่สมบูรณ์เป็นจำนวนมาก
อีกทั้งมีใบยางร่วงหล่นกลายเป็นขยะที่ยากต่อการจัดเก็บ เนื่องจากไม่สามารถเผาทำลายได้
ขณะเดียวกันประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงก็ได้รับความเดือดร้อนจากต้นยางนา
ที่กิ่งหักหรือลำต้นโค่นทับบ้านเรือน ทำให้ประชาชนรู้สึกในทางลบต่อต้นยางนา รู้สึก
ไม่ปลอดภัย และต้นยางนาบางส่วนยังสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้เส้นทาง กระทบต่อ
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง หน่วยงานราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ประชาชน ได้เข้ามาดูแลและรักษาต้นยางนา
รางวัลพระปกเกล้า’ 64