Page 121 - 22221_Fulltext
P. 121

120



               การเรียนผ่านการเล่น ทำให้เกิดความรู้ควบคู่กับความสนุกสนาน ได้ปฏิสัมพันธ์ สร้างความ
               สัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลดีต่อไปในอนาคต
               ลดความขัดแย้ง สร้างสังคมสันติสุขได้อย่างยั่งยืน จากการจัดกิจกรรมนี้ในปี 2562 พบว่า

               กลุ่มเด็กและเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้
               80 คน แต่มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมถึง 110 คน ซึ่งเห็นได้ว่า กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมทั้ง
               ผู้ปกครองในพื้นที่ให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การจัด
               กิจกรรมบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และยังส่งผลในระยะยาวต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน


                     ทั้งนี้การส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้ ได้รับการต่อยอดมาจากโครงการ
               ตลาดนัดภูมิปัญญา เนื่องจาก การจัดโครงการตลาดนัดภูมิปัญญา จะเห็นได้ว่ามีเด็กเยาวชน
               ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และมีความสนใจในศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
               ซึ่งนำมาจัดแสดงไว้ในโครงการดังกล่าว ทางคณะผู้บริหารและเทศบาลตำบลท่าสาป เล็งเห็น
               ในส่วนนี้ จึงนำมาต่อยอดความคิด เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้

               ภูมิปัญญา การละเล่นพื้นบ้านของไทย ซึ่งเป็นการปลูกฝังเยาวชนให้รักษา อนุรักษ์การละเล่น
               พื้นบ้านของไทยให้คงอยู่สืบไป และหลังจากโครงการส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้
               ทางเทศบาลตำบลท่าสาป ต่อยอดแนวทางการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ โดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้

               ประวัติศาสตร์เทศบาลตำบลท่าสาป ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมภาพถ่ายและข้อมูลทาง
               ประวัติศาสตร์ที่มีมาในอดีตของตำบลท่าสาปจนถึงยุคปัจจุบันและสิ่งที่จะพัฒนาต่อไป


































             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126