Page 120 - 22221_Fulltext
P. 120

11



                  ความสนใจจากประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยมียอดผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากปี 2562
                  ถึงร้อยละ 59 (จากผู้สมัคร 350 คน เพิ่มขึ้นเป็น 850 คน)

                       กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยสื่อพหุวัฒนธรรม ประเด็น
                  “พหุวัฒนธรรม นำสันติสุข จังหวัดยะลา” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเชื่อมความ

                  สัมพันธ์อันดีในสังคมพหุวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสมานฉันท์ นอกจากนี้
                  ยังเป็นการทำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์พหุวัฒนธรรมในท้องถิ่นและการยกระดับเศรษฐกิจ
                  ในพื้นที่อีกด้วย


                       สำหรับความโดดเด่นของกิจกรรมนี้ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเสนอศิลปวัฒนธรรม
                  ที่มีคุณค่าของพื้นที่ ซึ่งสมควรได้รับการอนุรักษ์และการถ่ายทอดให้กับบุคคลรุ่นหลังได้รับรู้
                  ร่วมไปกับการสร้างภาคีเครือข่ายในการรับรู้เท่าทันเฝ้าระวังสื่อผ่านการสร้างสรรค์ด้วย
                  สื่อพหุวัฒนธรรมธรรม ประกอบกับให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้และเข้าใจถึงการใช้ชีวิต

                  ในสังคมพหุวัฒนธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสมานฉันท์ โดยมีสื่อสร้างสรรค์
                  พหุวัฒนธรรมเป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์อย่างลงตัว

                       ในปัจจุบันถึงแม้กิจกรรมดังกล่าวได้หยุดชะงักเพราะสถานการณ์โรคโควิด-19
                  แต่พื้นที่จัดกิจกรรมดังกล่าวยังคงเปิดพื้นที่ เพื่อให้เกิดบรรยากาศและเป็นการสร้างความ

                  ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพี่น้องต่างศาสนาให้กลับมาอีกครั้งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ก่อนปี 2547

                       กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้ ประจำปี 2562
                  เป็นกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ กิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริม

                  ให้เด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และเสริมสร้างความสันติสุขและ
                  ความสมานฉันท์ในสังคม  นอกเหนือไปจากนี้ กิจกรรมนี้ยังช่วยแก้ปัญหาเด็กติดเทคโนโลยี
                  ติดหน้าจอ ติดเกม ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น จนกลายเป็นปัญหาสังคม ทำให้เด็กและ
                  เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดปัญหาการติดเทคโนโลยี เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
                  และห่างไกลจากสิ่งเสพติด อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกแก่เด็กและเยาวชน

                  ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่ด้วย

                       กิจกรรมการส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้ เป็นการนำเอาความ
                  หลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มารวมไว้ด้วยกันมากถึง 12 การละเล่น ทำกิจกรรม
                  ประจำฐานการเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละฐาน จะมีวิทยากรประจำ หรือปราชญ์ชาวบ้านมาให้

                  ความรู้ประจำฐาน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็น





                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125