Page 118 - 22221_Fulltext
P. 118
11
ก่อนดำเนินการจัดทำกิจกรรมเปิดพื้นที่ดังกล่าว ได้มีการจัดประชุมประชาคม
ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ขึ้นซึ่งพื้นที่นี้เป็นชุมชนไทยพุทธ เพื่อสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนในด้านความพร้อม ความสมัครใจในการเปิดพื้นที่กิจกรรม หลังจากได้ฟัง
ความคิดเห็นของประชาชน โดยมติส่วนใหญ่มีความเห็นชอบให้มีการเปิดพื้นที่ และมี
ความพร้อมด้านสภาพจิตใจมากพอที่จะเปิดพื้นที่ให้คนนอกเข้ามาในพื้นที่ของตน เทศบาล
ตำบลท่าสาป จึงได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำปัตตานีให้เป็นพื้นที่สำหรับ
จัดกิจกรรม ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รกร้าง มีเพียงบ้านตึกโบราณสถาปัตยกรรมแบบ
“ชิโนโปรตุกีส” ที่อยู่คู่ชุมชนท่าสาปมาช้านานตั้งตระหง่านอยู่บริเวณริมแม่น้ำปัตตานี
ที่เคยเป็นเมืองเก่า โดยทำการปรับภูมิทัศน์และทัศนียภาพโดยรอบให้มีความสวยงาม และ
สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยยังคงอนุรักษ์บ้านตึกโบราณให้คงอยู่คู่ชุมชน
ท่าสาปเช่นเดิม ถึงแม้สภาพบ้านจะชำรุดทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา
หลังจากทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ดำเนินการเปิดพื้นที่ตาม
โครงการที่ได้วางไว้ โดยกิจกรรมแรกที่เทศบาลตำบลท่าสาปจัดขึ้น ณ บริเวณริมแม่น้ำ
ปัตตานี (ท่าแพเก่า) คือ โครงการตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ครั้งที่ 1
ประจำปี 2558 จากการดำเนินโครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่
และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างดี และสามารถเสริมสร้างความสามัคคีได้อย่างยั่งยืนถาวร
ประชาชนในตำบลท่าสาปเกิดความรัก ความสามัคคีต่อกันมากขึ้น มีรอยยิ้ม และ
เสียงหัวเราะที่มีความสุข อีกทั้งศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนการละเล่นและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นับวันจะจางหายไปถูกสืบทอดให้ดำรงคงอยู่ต่อไป จากความสำเร็จของ
การเปิดพื้นที่ครั้งแรก เทศบาลตำบลท่าสาปจึงได้ต่อยอดโครงการไปอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี
ทั้งนี้ เทศบาลและประชาชนในพื้นที่ได้มีการต่อยอดเป็น ตลาดต้องชมท่าแพ-ท่าสาป โดยมี
การขายสินค้า อาหารพื้นบ้านในทุกๆ วันเสาร์ เวลา 10.00 น. – 20.00 น. ณ บริเวณ
ท่าแพเก่า (ริมแม่น้ำปัตตานี) หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และได้มี
การต่อยอดเป็น ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถนนคนเดินท่าสาป ซึ่งมีการจำหน่ายสินค้า
ที่หลากหลาย ในทุกวันเสาร์ของต้นเดือน ณ บริเวณถนนคนเดิน ซอยเมืองท่าเก่า หมู่ที่ 1
โดยบริเวณนี้เป็นชุมชนไทยพุทธ ซึ่งชาวบ้านยินดีที่จะให้มีถนนคนเดิน ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้า
ในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางศาสนามาร่วมกันจำหน่ายสินค้า อีกทั้งยังทำให้
ชุมชนเกิดการสร้างงาน มีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการกระจายรายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
รางวัลพระปกเกล้า’ 64