Page 124 - 22221_Fulltext
P. 124

12



                  ใกล้ชิดธรรมชาติ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยอมรับข้อตกลงในสังคมร่วมกัน
                  มีขนบธรรมเนียมแบบล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของตนเอง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ
                  อาชีพเกษตรกรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เอื้ออาทรต่อกันเป็นพี่เป็นน้องหรือเครือญาติกัน

                  ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ คือ คุณภาพชีวิตที่ดี วิถีพอเพียง ร้อยเรียงวัฒนธรรม ดำรงวิถีไทย
                  ใส่ใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ภารกิจและพันธกิจของ
                  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน จึงเน้นงานบริการด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของ
                  ทุกชุมชน คือ การส่งเสริมสถาบันครอบครัว อนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี สร้างรายได้
                  สร้างโอกาสภายใต้วิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งภารกิจและพันธกิจดังกล่าวดำเนินไป

                  อย่างต่อเนื่องและไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งอย่างรุนแรง กลับโดดเด่นเรื่องการจัดการ
                  ปัญหาคุณภาพชีวิตที่เน้นการเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์ จนได้รับรางวัลและ
                  โล่เกียรติคุณที่สะท้อนความเป็นเลิศด้านคุณภาพชีวิตสังคม ครอบครัว วัฒนธรรมระดับ

                  ยอดเยี่ยมจากภาครัฐหลายรางวัล เพราะต้นทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวย
                  ให้สังคมในพื้นที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี ความมีน้ำใจเป็นพลังทำงาน
                  ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่

                       สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้าง

                  สันติสุขและสมานฉันท์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน ได้แก่
                  โครงการครอบครัวล้อมรั้วรัก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน


                       ปี พ.ศ. 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนได้เข้าร่วมเครือข่ายของกรมกิจการ

                  สตรีและสถาบันครอบครัวจึงได้ดำเนินการขอรับงบประมาณในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ
                  ปัญหาในครอบครัวเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในตำบล
                  บ้านหนุนมาจากการที่แต่ละครอบครัวมีกลุ่มวัยทำงานอยู่นอกบ้านหรืออาศัยอยู่ต่างพื้นที่ไม่มี

                  เวลากลับมาบ้าน ดังนั้น สมาชิกที่เหลืออยู่จึงมีเพียงสองกลุ่ม คือ กลุ่มวัยเด็กและเยาวชนกับ
                  กลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีความแตกต่างทั้งแนวความคิด การสื่อสาร วิถีการใช้ชีวิต โดยพบว่าแต่ละ
                  ครอบครัวมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร มีการทะเลาะโต้เถียงกันบ่อย การใส่ใจดูสุขภาวะกายและ
                  ใจของทั้งสองวัยลดลง ส่งผลให้ความรักและความใกล้ชิดห่างหายไป ซึ่งทั้งสองกลุ่ม
                  มีสิ่งที่แน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือ เป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายและ

                  จิตใจ ดังนั้น หากขาดความรู้ความเข้าใจของกลุ่มคนต่างวัยต่างแนวกันไปจะทำให้แต่ละ
                  ครอบครัวขาดความรักและความสามัคคีที่จะอยู่ร่วมกันในชุมชน ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหา
                  ความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติสุข องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนจึงริเริ่มโครงการ





                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129