Page 93 - 22688_Fulltext
P. 93
67
บทที่ 4
สัดส่วนงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดสรร
ลงมาด าเนินโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่อ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ด้วยบริบทความส าคัญของ “อ าเภอเกาะสมุย” ในฐานะพื้นที่ยุทธศาสตร์ส าคัญทางการ
ท่องเที่ยวที่มีลักษณะเฉพาะโดดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และ
ความหลากหลายวัฒนธรรม จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางส าคัญของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขนาดใหญ่จ านวนมากในพื้นที่อ าเภอเกาะสมุยที่
สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้มากกว่าปีละ 12,000 – 18,000 ล้านบาท (บุญใจ แก้วน้อย,
2558) ลักษณะส าคัญเช่นนี้ส่งผลให้หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วน
ภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งที่มีส านักงานและไม่มีส านักงานประจ าอยู่ ณ อ าเภอเกาะสมุยต่างด าเนินการจัดสรร
งบประมาณลงมาด าเนินภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อ
เจตนารมณ์ ความต้องการ และความคาดหวังที่หลากหลายของประชาชนภายในอ าเภอเกาะสมุยและ
เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและรองรับความต้องการของ
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ภารกิจจ านวนมากที่หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางและราชการ
บริหารส่วนภูมิภาคต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณลงด าเนินการดังกล่าวกลับเป็นภารกิจที่รัฐไทย
โดยหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางต่าง ๆ ได้มีการด าเนินการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการก าหนด
ขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2545 และแผนปฏิบัติ
การก าหนดขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
อาทิ ภารกิจด้านสถานีขนส่งทางน้ า (ท่าเทียบเรือ) ภารกิจด้านงานลาดยางทางหลวง ภารกิจด้านงาน
บ ารุงรักษาทางหลวง ภารกิจด้านทางหลวงชนบท ภารกิจด้านสวนสาธารณะ เป็นต้น ให้กับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ ครอบคลุมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ
เทศบาลนครเกาะสมุยที่มีขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาและจัดท าบริการสาธารณะ
ต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งอ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี