Page 186 - 22688_Fulltext
P. 186
160
บทที่ 5
ข้อเสนอแนะอ านาจหน้าที่และสัดส่วนงบประมาณที่เหมาะสมต่อ
การจัดท าบริการสาธารณะเมื่อพื้นที่เกาะสมุยได้รับการยกฐานะเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่
ภายหลังจากการที่คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการส ารวจภารกิจ งบประมาณ และหน่วยงาน
ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่เข้ามาด าเนินภารกิจการพัฒนาและจัดท าบริการสาธารณะต่าง ๆ ภายในพื้นที่อ าเภอ
เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท าให้เราได้เห็นว่าพื้นที่อ าเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็น
พื้นที่ที่มีความส าคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศในฐานะเป็นศูนย์กลางการ
ท่องเที่ยวทางทะเลของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามา
ท่องเที่ยวที่เกาะสมุยเป็นจ านวนมากในแต่ปี ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้ปีละ
ไม่ต่ ากว่า 12,000 – 18,000 ล้านบาท (บุญใจ แก้วน้อย, 2558)
ด้วยความส าคัญเชิงพื้นที่อ าเภอเกาะสมุยต่อรายได้จากการท่องเที่ยวโดยภาพรวมของ
ประเทศไทยดังกล่าว ส่งผลให้มีหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดสรรงบประมาณเป็น
จ านวนมากเข้ามาด าเนินภารกิจด้านการพัฒนาและส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ อันเป็นทั้งภารกิจ
ที่เป็นอ านาจหน้าที่ของเทศบาลนครเกาะสมุยและหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางต่าง ๆ ได้มีการ
ด าเนินการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้กับเทศบาลนครเกาะสมุยตามแผนปฏิบัติการก าหนดขั้นตอนการ
กระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2545 และแผนปฏิบัติการก าหนด
ขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และภารกิจที่
หน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางต่าง ๆ มิได้ด าเนินการถ่ายโอนให้กับเทศบาลนครเกาะสมุย กับ
ภารกิจที่มิได้เป็นอ านาจหน้าที่ของเทศบาลนครเกาะสมุยตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น เกาะสมุยจึงถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ความเหมาะสมที่ควรได้รับการยกฐานะเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่เพื่อท าหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจด้านการพัฒนาและ
ส่งมอบบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการตอบสนองต่อ