Page 18 - kpi22173
P. 18
“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”
มีความสํานึกรูสึกวาตนเองเปนคนในพื้นที่ โดยมีบทบาทและหนาที่ในชุมชนทองถิ่นทั้งในฐานะผูหญิง (สตรี)
มารดาและภรรยาอยางใดอยางหนึ่งหรือทั้งหมด ผนวกกับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน
ของตนเอง โดยงานวิจัยนี้มองสตรีถิ่นในฐานะวาทกรรมการสรางความหมายทางการเมืองและสรางพื้นที่
ในการแสดงบทบาทการมีสวนรวมในมิติของการใหความรูในการดูแลสุขภาพแกชุมชนทองถิ่นตนเอง
โดยเฉพาะกรณีวิกฤติการแพรระบาดของโรค COVID-19 ในจังหวัดเชียงใหม ดวยธรรมชาติของสตรีเพศ
ที่มีความละเอียด รอบคอบ และออนโยน ซึ่งเขากันไดดีกับลักษณะงานที่ตองดูแลและมีความใกลชิด
กับผูปวยและผูคนในชุมชน เขาใจวาเปนสวนหนึ่งที่ทําใหการดําเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา
หมูบาน (อสม.) ประสบความสําเร็จและมีประสิทธิภาพ
จากรายงานของระบบสารสนเทศงานสุขภาพประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน
พบวา ในป พ.ศ. 2562 จาก 16 ตําบล ในอําเภอเมืองเชียงใหม มีจํานวน อสม. รวมทั้งสิ้น 2,691 คน
ซึ่งเปนเพศชาย 450 คน และเพศหญิง 2,241 คน โดยคิดเปนสัดสวนเพศหญิง รอยละ 83.28 (ระบบ
สารสนเทศงานสุขภาพประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน, 2562) จากสถิติดังกลาว
มีนัยสําคัญและนาสนใจในการศึกษาในหลายประเด็น โดยเฉพาะอยางยิ่งบทบาทสตรีถิ่นในการเสริมสราง
ความรวมมือของชุมชนในการปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม
2019 เห็นไดจากบทบาทเดนของผูนําสตรีของประเทศตางๆ เชน เยอรมัน ไตหวัน และนิวซีแลนด ในการ
จัดการในภาวะวิกฤติการแพรระบาดของเชื้อไวรัสดังกลาว จนเปนที่ชื่นชมของบรรดาสื่อมวลชนและ
สื่อสังคมออนไลนอยางแพรหลาย
การทําความเขาใจบทบาท อสม. ในการเขาไปมีสวนรวมในเครือขายสาธารณสุขมูลฐานในการ
ปองกันและเฝาระวังการแพรระบาดและเครื่องมือการสื่อสารระหวางเครือขายและการสื่อสารสูการปฏิบัติ
ในระดับชุมชนทองถิ่นเกิดขึ้นไดอยางไรและวิธีการใด อุปสรรคในการเขาถึงขอมูลขาวสารและชองทาง
การสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสงสารถึงผูรับสาร เพื่อความเขาใจตรงกันและปฏิบัติไดถูกตอง
ตามมาตรการที่กําหนด ซึ่งมีสวนทําใหชุมชนใหความรวมมือในการปฏิบัติตามมาตรการที่ภาครัฐแนะนํานั้น
จําเปนตองศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศ (Information behavior) ของ อสม. เพื่อพิสูจนทราบพฤติกรรม
สารสนเทศในการปองกัน เฝาระวัง อีกทั้งยังเปนการทําความเขาใจเกี่ยวกับวิธีการตางๆ ที่บุคคลมี
ปฏิสัมพันธกับสารสนเทศ เปนพฤติกรรมที่เชื่อมโยงใหแตละบุคคลเขาถึงแหลงสารสนเทศโดยใชสื่อตางๆ
เปนชองทางในการเผยแพรสารสนเทศหรือความรู พฤติกรรมสารสนเทศที่นํามาศึกษาในกลุมของ อสม.
มุงไปที่การแสดงออกที่สื่อถึงความสัมพันธระหวางความตองการสารสนเทศ (Information need) การ
แสวงหาสารสนเทศ (Information seeking) และการใชสารสนเทศ (Information use) (Wilson, 2000)
17