Page 3 - kpi21365
P. 3
บทสรุปผู้บริหาร
การวิจัยเรื่อง“การติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ : ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับ
สมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการติดตามการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการ 2. วิเคราะห์ความแปรปรวนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตาม
ยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย
จ าแนกตามประเภทกลุ่มกระทรวง และสังกัดกระทรวง 3. ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการ 4. ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานที่สอดคล้องและเป็นไปตามเป้าหมายของ
ยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ส่วน
ราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า จ านวนทั้งสิ้น 182 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามปลายเปิด ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีการหาค่าความตรงเชิง
เนื้อหาและการหาค่าความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียวชนิดไม่มีตัวแปรร่วม (One-way MANOVA) และการ
วิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายรวม 71 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1
ตัวแทนหน่วยงานที่ท าหน้าที่ในการวางแผนและน ายุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติระดับนโยบาย จ านวน 11 คน ใช้การ
สัมภาษณ์ และกลุ่มที่ 2 ตัวแทนหน่วยงานที่ท าหน้าที่ในการน ายุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและการพัฒนา
ระบบบริหารจัดการภาครัฐในส่วนภูมิภาคระดับปฏิบัติ นักวิชาการและภาคประชาสังคม จ านวน 60 คน ใช้การ
สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจ ำแนกและจัดระบบข้อมูล วิเครำะห์สรุปอุปนัย และกำรสรุปในเชิงพรรณนำ
ควำม
ผลการวิเคราะห์ระดับการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย โดยรวมมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ใน
ระดับสูง (คิดเป็นร้อยละ 78.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า การขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย มีระดับการ
ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด จ านวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็น
ศูนย์กลาง (คิดเป็นร้อยละ 82.90) องค์ประกอบการบริหารงานแบบบูรณาการ (คิดเป็นร้อยละ 81.33)
ก