Page 216 - kpi21365
P. 216

บทที่ 5



                                       สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


                             การวิจัยเรื่อง “การติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ : ยุทธศาสตร์ชาติด้านการ

                     ปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ” ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์

                     เพื่อศึกษา 1) การติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติ
                     ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย 2)  วิเคราะห์

                     ความแปรปรวนของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6

                     ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย จ าแนกตาม
                     ประเภทกลุ่มกระทรวง และสังกัดกระทรวง 3) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่

                     การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร

                     จัดการขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานที่สอดคล้อง
                     และเป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ

                     องค์กรภาครัฐในประเทศไทย โดยมีหัวข้อดังนี้

                               1. สรุปผลการวิจัย
                               2. อภิปรายผลการวิจัย

                               3. ข้อเสนอแนะ


                     1. สรุปผลการวิจัย


                             การวิจัยเรื่อง “การติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ : ยุทธศาสตร์ชาติด้านการ
                     ปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ” คณะผู้วิจัยได้ท าการสรุปตามล าดับ ดังนี้

                             1.1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย

                                 การวิจัยเชิงปริมาณ ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 182
                     ตัวอย่าง ซึ่งได้รับข้อมูลกลับคืนจ านวน 96 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 53 ของจ านวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

                     โดยผู้ตอบแบบสอบถามปฎิบัติหน้าที่ในสังกัดกลุ่มกระทรวงด้านบริหาร ความมั่นคง และการต่างประเทศ

                     มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.8  รองลงมาสังกัดกลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 54.8 และ

                     ปฎิบัติหน้าที่ในสังกัดกลุ่มกระทรวงด้านสังคม ร้อยละ 37.5 ตามล าดับ ส าหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ

                     ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายรวม 71 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่  1 ตัวแทนหน่วยงานที่ท าหน้าที่ใน


                     การวางแผนและน ายุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติระดับนโยบาย จ านวน 11 คน  ใช้การสัมภาษณ์ และกลุ่ม
                     ที่ 2  ตัวแทนหน่วยงานที่ท าหน้าที่ในการน ายุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหาร


                     จัดการภาครัฐในส่วนภูมิภาคระดับปฏิบัติ นักวิชาการและภาคประชาสังคม จ านวน 60 คน
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221