Page 151 - kpi21365
P. 151

คุ้มครองผู้ชี้เบาะแสการทุจริตภาครัฐ ส่วนด้านการปราบปราม หมายถึง 1) หน่วยงานมีการสร้างกลไกที่ชัดเจนเพื่อ
                  เพิ่มประสิทธิภาพการด าเนินงานปราบปรามการทุจริตภายในหน่วยงาน 2) หน่วยงานมีการปรับปรุงกระบวนการ

                  ปราบปรามทุจริตภายในหน่วยงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และ 3) หน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับองค์

                  ความรู้ในการพัฒนาการปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
                          12.  การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการของ

                  องค์การภาครัฐด้านกฎหมายกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง หมายถึง 1) หน่วยงานมีการพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ

                  ข้อบังคับ และมาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทและเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ 2) หน่วยงานมีการปรับปรุง
                  กฎหมายให้ทันสมัย 3) หน่วยงานมีการยกเลิกกฎหมายที่มีเนื้อหาไม่จ าเป็นไม่ทันมสมัย 4) หน่วยงานมีการก าหนด

                  ระเบียบ กฎหมายผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ          5) หน่วยงานมีกลไกในการรับฟังข้อคิดเห็น

                  ของระเบียบ กฎหมายจากผู้เกี่ยวข้อง และ 6) หน่วยงานมีการน าเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้เพื่อพัฒนา
                  กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ข้อกฎหมายของหน่วยงาน

                         13.  การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการขององค์การ

                  ภาครัฐด้านสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม หมายถึง 1) หน่วยงานมีกลไกล/แนวทางที่
                  ชัดเจนในการปรับวัฒนธรรมหน่วยงานและทัศนคติบุคลากรในหน่วยงานให้เคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย

                  2) หน่วยงานมีการก าหนดหลักในการพิจารณาโทษทางวินัยของบุคลากรและแนวทางการด าเนินคดีทั้งทางอาญา

                  และแพ่งของหน่วยงานให้มีความสอดคล้องกัน  3) หน่วยงานมีการพัฒนาระบบการสืบเสาะและสอดส่องการทุจริต
                  ภายในหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคลากร  4) หน่วยงานมีการก าหนด

                  พัฒนากลไกการรวบรวม และการพิสูจน์พยานหลักฐานเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยของบุคลากรที่มีความเป็นธรรม

                  และเป็นไปตามมาตรฐานสากล และ 5) หน่วยงานมีการยกระดับมาตรการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของ
                  บุคลากรในหน่วยงาน

                         14. ประเภทกลุ่มกระทรวง หมายถึง การจัดประเภทกลุ่มกระทรวงเพื่อท าการตรวจสอบและประเมินผล

                  ภาคราชการตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. 2548  มีการ
                  จัดกลุ่มกระทรวงโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

                                1) กลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ส านักนายกรัฐมนตรี (ส านักงบประมาณ,

                  ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ส านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
                  กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม





                  โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                             132
                  ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156