Page 93 - kpi21196
P. 93
ส่วนที่ 2
ลำดับที่สาม การลงปฏิบัติสู่ครัวเรือน หรือสมาชิกชุมชน การลงไป
สู่ครัวเรือน ผมแนะนำให้ไปคู่กับผู้นำชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม. ครับ
เพราะปกติ อสม. จะรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของ
ครัวเรือนประมาณ 10-15 ครัวเรือนต่อคน ซึ่ง อสม. จะสามารถลงไป
สาธิตวิธีการจัดการขยะได้ถึงในระดับครัวเรือน และจะกระจายครอบคลุม
พื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องหารือแนวทาง
การดำเนินงานกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อสร้าง
ความร่วมมือกันในการดำเนินงานครับผม
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ลำดับที่สี่ การจัดกิจกรรมเสริม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชน
หรือครัวเรือนมามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ เช่น การทำตลาดนัด
ซื้อขายวัสดุรีไซเคิล การทำธนาคารวัสดุรีไซเคิล การนำวัสดุมาแลกสิ่งของ
การทำปุ๋ย การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำแก๊สชีวภาพ การส่งเสริมงาน
ประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล การประกวดครอบครัวไร้ขยะ การรวบรวมขยะ
เป็นพิษ/ติดเชื้อ หรืออื่น ๆ ตามที่เห็นเหมาะสมครับ
ลำดับที่ห้า การออกเยี่ยมบ้าน เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนจะต้องหมั่นออกตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงาน
ในระดับครัวเรือน หรือสมาชิกแต่ละราย ว่ามีผลการดำเนินงาน
เป็นอย่างไร ปริมาณขยะลดลงหรือไม่ สามารถบริหารจัดการขยะได้เอง
หรือไม่ สามารถจำหน่ายวัสดุรีไซเคิลได้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรค
ในการดำเนินงานอย่างไร การตรวจเยี่ยมถามข่าวคราวอาจจะทำผ่านสื่อ
ที่เป็นแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ก็ได้ครับ แต่ผมก็แนะนำว่าให้ลงไปเจอกัน
ตัวเป็น ๆ บ้างนะครับ และก็ไปเยี่ยมกันบ่อย ๆ นะครับ แต่อย่าไปชวนกัน
เล่นไพ่นะครับ คิคิ!!! ไปเยี่ยมกันทั้งปีเลยนะครับ ในขณะที่ไปเยี่ยมกัน
อย่าลืมกระตุ้นให้พี่น้องในชุมชนที่ปริมาณขยะลดลงแล้วจัดประชุม
ประชาคมเพื่อหารือทยอยคืนถังนะครับ เราจะเริ่มได้ถังขยะกลับมาเป็น
กอบเป็นกำก็ระยะนี้แหละครับ
สถาบันพระปกเกล้า