Page 89 - kpi21196
P. 89

ส่วนที่ 2



                          ประการที่สาม ต้องอธิบายได้ว่า เมื่อเข้าร่วมชุมชนไร้ถัง
            แล้ว ยังมีขยะอยู่หรือไม่ คำตอบคือมี แต่จะเหลือน้อย เพราะสิ่งของที่เรา

            เคยทิ้งส่วนใหญ่สามารถจัดการได้เอง และทำให้มีประโยชน์ได้เอง เมื่อ
            เหลือน้อยมากจึงไม่จำเป็นจะต้องมีถังขยะสาธารณะอีกต่อไป

                          ประการที่สี่ ต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอะไรคือขยะ และ
            อะไรคือวัสดุ รวมทั้งการจัดการขยะแต่ละประเภท ทำอย่างไร และจัดการ

            วัสดุทำอย่างไร ข้อนี้ต้องฝึกทำ ผู้จัดการฝึกอบรมจะต้องเปิดโอกาสให้
            ผู้เข้าอบรมฝึกทำ อย่างน้อยฝึกจัดการเศษอาหารและวัสดุในระหว่าง
    คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
            พักเบรคหรืออาหารกลางวัน เราอธิบายกันหลายครั้งเกี่ยวกับว่าขยะ
            คืออะไร และวัสดุคืออะไร และถุงพลาสติกจะจัดการอย่างไร ท่านลอง

            ระลึกดูนะครับ ว่าจำได้ไหม ถ้าจำไม่ได้ก็ย้อนกลับไปดูตอนที่เราทำการ
            สาธิตให้ประชาคมดูนะครับผม

                          เมื่อเราได้ทำความเข้าใจ และสร้างทักษะในการบริหาร
            จัดการขยะตามแนวคิดพลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง ให้แก่ผู้นำชุมชนจนมี

            ความสามารถในการบริหารจัดการขยะด้วยตนเองแล้วนะครับ ในการ
            ฝึกอบรมคราวเดียวกันนี่แหละครับ เราก็แบ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแต่ละ
            ภาคส่วนเข้ากลุ่มปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานในระดับชุมชน
            แผนควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างครับ


                  2.2.2   การจัดทำแผนการดำเนินงานในระดับชุมชน

                          ในการทำแผนดำเนินงานในระดับชุมชน ผมหมายรวมถึง

            สำนักงาน องค์กร โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ รวมถึง
            การจัดงานนะครับ เป็นอันว่าหมายถึงที่รวมตัวกันของผู้คนแล้ว มีแนวโน้ม
            ว่าจะก่อให้เกิดขยะที่จะเป็นภาระแก่พวกเรานะครับ แผนที่ว่านี้ เป็นแผนที่

            จะกำหนดฐานว่าปัจจุบันเราอยู่ตรงไหน เป้าหมายเราเท่าใด แล้วเราจะต้อง
            ทำกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ รวมทั้งการจัดทำปฏิทินงาน



              สถาบันพระปกเกล้า
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94