Page 88 - kpi21196
P. 88
ส่วนที่ 2
ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนาผู้นำเพื่อให้ผู้นำไปทำหน้าที่วิทยากรตัวคูณ
กระจายการดำเนินงานในแต่ละส่วนรับผิดชอบ และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นก็จะต้องร่วมวางแผนและลงมือปฏิบัติร่วมกับท่านผู้นำเหล่านี้
แหละครับ ผมเรียกรวม ๆ ว่าผู้นำชุมชนครับ ซึ่งหมายถึงทั้งผู้นำที่เป็น
ทางการและผู้นำตามธรรมชาตินะครับ
2.2.1 การอบรมเพื่อสร้างวิทยากรตัวคูณ
ในเมื่อวัตถุประสงค์ของเรา คือ เพื่อสร้างวิทยากรตัวคูณ
ดังนั้นแล้ววิทยากรตัวคูณ จะต้องสามารถทำให้คนอื่นดูได้ครับ ไม่ใช่เป็น
วิทยากรตัวยืน คือ ยืนนิ่ง ๆ และทำอะไรให้ใครดูไม่ได้นะครับ ดังนั้น
ในการอบรมวิทยากรตัวคูณ ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะต้องผ่านวัตถุประสงค์
การเรียนรู้ดังนี้ ครับ
ประการแรก ต้องเข้าใจและอธิบายได้ว่า ชุมชนไร้ถัง คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
หมายความว่าอย่างไร คำตอบก็คือ ชุมชน/ครัวเรือน ช่วยกันจัดการขยะ
ของตนเอง จนไม่เหลืออะไรไปทิ้งลงถังขยะสาธารณะ และเมื่อถึงจุดที่
ทุกครัวเรือนสามารถจัดการขยะของตัวเองได้ ถังขยะก็ไม่จำเป็น ชุมชน
ก็จะคืนถังขยะแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไป ท้ายที่สุดชุมชนก็จะไม่มี
ถังขยะสาธารณะอีกต่อไป
ประการที่สอง ต้องอธิบายได้ว่า ชุมชนไร้ถัง มีประโยชน์
อย่างไร คำตอบก็คือ ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองในการจัดการขยะได้
แม้ในยามที่ไม่มีที่ทิ้งขยะก็สามารถอยู่ได้ เมื่อประชาชนสามารถจัดการขยะได้
ปริมาณขยะก็ลดลง จนสามารถคืนถังได้ ชุมชนก็จะสะอาดไม่ส่งกลิ่น
รบกวน ไม่มีมลภาวะ คนอื่นไม่สามารถลักลอบมาทิ้งได้ ค่าใช้จ่ายในการ
จัดการขยะก็จะลดลง และวัสดุรีไซเคิลก็สามารถขายได้
สถาบันพระปกเกล้า