Page 91 - kpi21196
P. 91

ส่วนที่ 2



            ให้ได้เท่าใด และที่สำคัญจะไร้ถังเมื่อใด ชุมชนอาจจะต้องใช้เวลานานครับ
            แต่หน่วยงานที่ผ่านมา ผมใช้เวลาในการทำไม่นานครับ บางหน่วยงานไม่กี่วัน

            ก็สำเร็จแล้วครับ

                          โครงการ/กิจกรรม โครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินการ

            ในชุมชน ไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมใหม่ครับ สามารถนำไป
            แทรกเสริมในกิจกรรมเดิมได้ในทุกกิจกรรมตามปฏิทินงานของชุมชน
            โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ประเภทกิจกรรม ประเภทแรก งานประจำ ได้แก่
    คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
            งานที่มีการดำเนินการประจำอยู่ในชุมชน เช่น การประชุม การเยี่ยม
            ชุมชนของ อสม. ประเภทที่สอง งานที่เป็นครั้งคราว ไม่ว่าจะเป็นงานพิธี

            งานฝึกอบรม งานกีฬา งานสังสรรค์ หรืองานประจำอื่น ๆ ทั้งสองประเภท
            กิจกรรมในชุมชนมีสิ่งที่จะต้องทำเป็นพื้นฐาน คือ การสาธิตการจัดการ
            ขยะในครัวเรือน หรือการจัดให้มีการจัดการขยะในทุกการจัดงานเพื่อไม่ให้

            เหลือขยะไปทิ้งลงถัง และการทำความเข้าใจและเชิญชวนให้ประชาชน
            เข้าร่วมโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้อง
            วางแผนลงไปร่วมปฏิบัติงานกับผู้นำชุมชนในพื้นที่


                          ส่วนที่ชุมชนจะมีกิจกรรมอื่น ๆ เสริมให้เป็นทางเลือกตาม
            ความเหมาะสม เช่น การทำตลาดนัดซื้อขายวัสดุรีไซเคิล การทำธนาคาร
            วัสดุรีไซเคิล การนำวัสดุมาแลกสิ่งของ การทำปุ๋ย การทำน้ำหมักชีวภาพ
            การทำแก๊สชีวภาพ การส่งเสริมงานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล การประกวด

            ครอบครัวไร้ขยะ การรวบรวมขยะเป็นพิษ/ติดเชื้อ หรืออื่น ๆ ให้แต่ละ
            ชุมชนพิจารณาที่เห็นว่าสมควร ก็หารือกันนะครับ ว่าเราจะทำอะไร เมื่อไร
            จะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง


                          เอาละครับเมื่อแผนการดำเนินงานเราพร้อมชัดเจนแล้ว
            ผมว่าเราก็พร้อมแล้วละครับ เพราะมีวิทยากรตัวคูณ และเจ้าหน้าที่จับคู่กัน
            แล้ว ก็จะลงสู่ชุมชนเพื่อสร้างชุมชนไร้ถังขยะด้วยกันครับ




           0  สถาบันพระปกเกล้า
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96