Page 50 - kpi21196
P. 50
ส่วนที่ 1
ดูเหมือนว่าที่คิดอยู่ไม่ได้ดุลครับ คือ คิดแต่ผลิตเพื่อให้ใช้เป็นหลัก แต่คิด
เรื่องเก็บคืนเพื่อไม่ให้กลายมาเป็นขยะกลับน้อยมากถ้าเทียบกับการคิดที่จะ
ผลิตที่ให้ได้ใช้ ผมไม่ได้เก็บตัวเลขเองละครับ แต่ต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติ
ที่เขาได้เก็บเอาไว้ สำหรับประเทศไทย มีของที่คนไม่ใช้แล้วถูกทิ้งมาให้เป็น
ขยะในปี 2561 ถึงวันละ 7.6 หมื่นตันต่อวัน หรือ 27.8 ล้านตันต่อปี
แล้วถ้าคิดเป็นทั่วโลกจะมีวันละเท่าใด
ขยะกองใหญ่หลายล้านตันอยู่ตรงไหน ไม่เคยเห็นมี ก็ไม่เห็นละครับ
เพราะมันกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร ถือว่าหนัก
มาก วันหนึ่ง ๆ ก็หมื่นกว่าตันครับ มันไม่ได้กองรวมกันอยู่ที่เดียวมัน
กระจัดกระจายมากน้อยไปตามที่ตั้งของท้องถิ่น ลักษณะภูมิประเทศ
ขนาดพื้นที่และความหนาแน่นของประชากร โครงสร้างประชากร สภาพ
ทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งลักษณะของเมืองหรือชุมชนที่อยู่รอบข้าง
เพราะคนจะไปมาหาสู่กันและกลายเป็นแหล่งผลิตขยะรวมทั้งการขนย้าย คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ขยะข้ามเขตไปมา ถ้าเราเข้าใจในบริบทของท้องถิ่นในประเด็นเหล่านี้เราก็
จะพอประมวลได้ว่าขยะในภาพรวมของเรากระจายไปอยู่ที่ใดและเกิดจาก
แหล่งใดบ้าง ดังนั้น ในส่วนนี้ผมจะชวนท่านวิเคราะห์ในประเด็นนี้เพื่อเป็น
ข้อมูลพื้นฐานต้นทางของแหล่งกำเนิดขยะที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาในรายละเอียดภายหลังครับ ประเด็นที่ผมแนะนำว่าจะต้องทำการ
ศึกษาบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คู่มือก็ต้องแนะนำครับ
อิอิ...ผมว่าที่สำคัญ ๆ หลัก ๆ ก็มีอยู่ 9 ประเด็นหลักครับ
ประเด็นแรก ที่ตั้ง ครับ หลายท่านคงจะงงนะครับว่าที่ตั้ง
จะเกี่ยวข้องกับขยะอย่างไร แล้วจะเล่าให้ฟัง เราเพิ่งคุยกันนะครับว่าขยะ
ไม่ได้มาจากดาวอังคาร มันมาจากคน การรู้ที่ตั้งของเราก็จะพอมองเห็นว่า
เราเชื่อมโยงท้องถิ่นรอบข้างใดบ้าง ทิศเหนือกลางใต้ตะวันออกตะวันตก
อะไรก็แล้วแต่ มีเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกันอย่างไร องค์กร
สถาบันพระปกเกล้า