Page 55 - kpi21196
P. 55
ส่วนที่ 1
ก็จะแตกต่างกัน ขยะที่ออกจากเรือนจำ ก็น่าจะแตกต่างจากขยะที่ออกจาก
ศาสนสถาน และหอการค้าครับ ดังนั้นเราต้องแยกให้ชัดว่าองค์กรใด เขามี
อะไรที่จะต้องไปทิ้งบ้าง
ประเด็นที่เจ็ด ความเชื่อและค่านิยมในการบริหารจัดการขยะของ
เจ้าหน้าที่และประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเชื่อและ
ค่านิยมที่ปลูกฝังกันมา หากไม่ได้ปลูกฝังความรู้สึกรับผิดชอบ ก็อาจจะทิ้ง
ขยะไปตามอำเภอใจ หรือไม่ก็ทิ้งลงถังทุกอย่างสุดแท้แต่จะนำไปไหนเพราะ
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
จ่ายค่าธรรมเนียมแล้ว หรือไม่ก็เข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง
ที่จะต้องดำเนินการ คนอื่นไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว หากมีแนวความคิด
แบบนี้ก็คงจะมีปริมาณขยะจำนวนมาก แต่หากผู้คนมีความรับผิดชอบ
ไม่สร้างขยะ ไม่หวังว่าคนอื่นจะมาดำเนินการให้ แต่ทำเองจนสุดความ
สามารถ ตลอดทั้งทำงานเป็นทีมสร้างเครือข่ายจิตอาสารักท้องถิ่น ก็จะ
ทำให้ปริมาณขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงครับ ที่จะต้องค้นหา
คือตอนนี้เจ้าหน้าที่และประชาชนมีความเชื่อและค่านิยมเกี่ยวกับขยะ
ว่าอย่างไรครับ ต้องสำรวจดูครับว่าความเชื่อค่านิยมที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร
คนส่วนใหญ่คิดอย่างไร เห็นอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนก่อนนะครับ
ประเด็นที่แปด ที่ไปของขยะและวัสดุของเรามีที่ใดบ้าง ประเด็นนี้
แบ่งออกเป็น 3 ข้อย่อย ได้แก่ ข้อแรก เรามีที่ทิ้งขยะ หรือมีที่กำจัดขยะ
ของตนเองหรือไม่ ถ้ามีตั้งอยู่ที่ใด มีการต่อต้านจากภาคประชาชนหรือไม่
ใช้เทคโนโลยีใด ค่าใช้จ่ายเท่าใด มีปริมาณขยะเท่าใด สามารถรองรับได้อีก
นานหรือไม่ หากไม่มีที่กำจัดขยะเป็นของตนเอง ปัจจุบันเราทำอย่างไร
นำไปทิ้งที่ใด มีค่าใช้จ่ายเท่าใด (กี่บาท) และมีปริมาณขยะเฉลี่ยต่อวัน
เท่าใด (กี่ตัน) เก็บค่าบริการจากประชาชนหรือไม่ ถ้าเก็บอยู่ในอัตราที่
คุ้มค่าใช้จ่ายหรือไม่ ที่ต้องให้วิเคราะห์ข้อมูลประเด็นนี้ เพื่อให้ทราบถึง
ความสะดวกสบายในการทิ้งขยะที่ประชาชนเคยมีและภูมิคุ้มกันในการพึ่ง
สถาบันพระปกเกล้า