Page 56 - kpi21196
P. 56
ส่วนที่ 1
ตนเองเรื่องการบริหารจัดการขยะ การเคยชินกับความสะดวกสบายและ
ไม่ต้องร่วมดำเนินงาน อาจจะบั่นทอนภูมิคุ้มกันของประชาชนในอนาคต
หากไม่มีที่ทิ้งขยะ นอกจากนั้นทำให้ทราบอายุการใช้งานอนาคตของสถาน
ที่ทิ้งขยะ ตลอดทั้งสถานะเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายในประเด็นการบริหาร
จัดการขยะครับว่าจะยั่งยืนหรือไม่
ข้อที่สอง เรามีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจรีไซเคิล หรือรับซื้อของเก่า
กี่ราย ที่ใดบ้าง เขาซื้ออะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ รับซื้อถึงที่หรือต้องนำไปขาย
และมีหน่วยงานที่ไม่หวังกำไรรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ในพื้นที่บ้างหรือไม่
เขารับบริจาคอะไร รับบริจาคไปทำอะไร ข้อที่สองนี้จะได้ใช้ประโยชน์
ในการจัดการกับสิ่งที่ไม่ใช่ขยะ นั่นก็คือ วัสดุครับ
ข้อที่สาม เรามีกำลังคน ยานพาหนะ อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือสื่อสาร ระบบซ่อมบำรุง และเครือข่ายการทำงานที่จะช่วยเหลือ
ในกรณีฉุกเฉิน ตลอดทั้งระบบป้องกันอุบัติภัย อย่างไรบ้าง ข้อนี้เพื่อจะได้ คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ดูแลระบบการขนขยะและวัสดุไปส่งตามข้อที่หนึ่งและสองครับ
ประเด็นที่เก้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีอาณาเขตติดกัน
หรืออยู่ข้างเคียง เขามีการบริหารจัดการขยะอย่างไรบ้าง เขามีขยะวันละ
เท่าใด เขานำไปทิ้งตรงไหน เขามีการบริหารจัดการอย่างไร แล้วการ
ดำเนินงานของเขา ส่งผลกระทบอะไรกับเราหรือไม่อย่างไร คนในเขตเรา
ได้นำไปทิ้งในเขตเขาหรือในทางตรงกันข้ามคนในเขตเขานำของไปทิ้งในเขต
เราหรือไม่ ถ้ามีเกิดกับชุมชนใดบ้าง ตรงนี้เองละครับ เราจะได้สร้าง
เครือข่ายการดำเนินงานในอนาคตเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
กล่าวโดยสรุปนะครับ ในส่วนของบริบทที่เราจะต้องวิเคราะห์
ให้ชัดเจนก่อน มาจากข้อคิดที่ว่าขยะไม่ได้มาจากดาวอังคาร แต่มาจาก
คนในโลกเราครับ ดังนั้น บริบทหรือสภาวะแวดล้อมที่สำคัญที่เป็นปัจจัย
สถาบันพระปกเกล้า 5