Page 61 - kpi21196
P. 61
ส่วนที่ 1
ต่อคนต่อวันเป็นกี่กิโลกรัม มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
(ค่าเฉลี่ยของประเทศ เท่ากับ 1.14 กิโลกรัมต่อวัน) ถ้าเป็นไปได้ขอข้อมูล
ปริมาณขยะรวมรายปีย้อนหลัง 3-5 ปี และหากเป็นไปได้ขอปริมาณขยะ
รายเดือนย้อนหลัง 3 ปีเพิ่มครับ เพื่อจะได้เห็นการเพิ่มหรือลดลงที่ผิดปกติ
ไปจากค่าเฉลี่ยในเดือนใดเดือนหนึ่งเพื่อหาสาเหตุการเพิ่มหรือลด หากไม่มี
การชั่งปริมาณขยะให้ประมาณการจากจำนวนเที่ยวรถที่ขนขยะ หรือไม่ก็
คำนวณจากจำนวนประชากร และแนวโน้มปริมาณขยะน่าจะเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงต่อไปในอนาคตข้างหน้า ข้อมูลในข้อนี้จะเป็นประโยชน์ในการตั้ง
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
เป้าหมายในการลดลงของปริมาณขยะครับ
ข้อที่สอง เกี่ยวกับปริมาณถังขยะ ปัจจุบันมีถังขยะสาธารณะ
รวมทั้งหมดกี่ถัง เป็นถังประเภทใดบ้าง ประเภทละเท่าใด ในภาพรวม
คิดเป็นอัตราส่วนถังขยะ 1 ถังต่อกี่คน ในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านมีถังขยะ
อยู่เท่าใด และในระดับแต่ละชุมชนคิดเป็นอัตราส่วนถังขยะ 1 ถังต่อกี่คน
ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมามีการซื้อถังเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นใดไม่เคยมีถังมาจนถึงปัจจุบัน ก็ตอบง่าย ๆ ว่าไม่มีถังมาก่อน
ครับ ข้อมูลในข้อนี้เราจะนำไปใช้ในการตั้งเป้าหมายจำนวนถังขยะที่ลดลง
เพื่อมุ่งสู่ความเป็นชุมชนไร้ถังครับ
ข้อที่สาม เกี่ยวกับที่ตั้งของถังขยะครับ ในยุคดิจิทัล เราสามารถ
ทำทะเบียนถังขยะและระบุพิกัดที่ตั้งของถังขยะได้ครับ ว่าตั้งอยู่ที่ไหน
ซอยไหน ถนนอะไร ใกล้กับอะไร สภาพการตั้งเป็นอย่างไร ถ่ายภาพเก็บ
และบันทึกข้อมูลเอาไว้ครับ อาจจะเขียนตัวเลขกำกับถังเอาไว้จะได้ทราบ
ความเคลื่อนไหวของปริมาณถังขยะในแต่ละจุด เนื่องจากในอนาคตเราจะมี
การขอถังคืน จะได้สามารถบอกถังที่คืนและถังที่เหลือได้ นอกจากนั้น
เรายังจะสามารถนำมาเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังดำเนินการโครงการ
ได้ครับ
50 สถาบันพระปกเกล้า