Page 48 - kpi21196
P. 48
ส่วนที่ 1
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะนำแนวคิดไปดำเนินงาน
นะครับ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการ
ผู้บริหารสูงสุดมาจากฝ่ายการเมือง และประชาชนเป็นผู้มีสิทธิในการ
ออกเสียงเลือกตั้งและเข้าร่วมในการดำเนินงานตามแนวทางแห่ง
ประชาธิปไตย การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนไร้ถังในการบริหารจัดการขยะ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมกันทุกฝ่าย
ได้แก่ ฝ่ายการเมือง คือผู้บริหารจะต้องประกาศเป็นนโยบาย และเป็นผู้นำ
ในการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นท้องถิ่น
ไร้ถังขยะ ส่วนฝ่ายราชการจะต้องนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยแสวงหา
ช่องทางในการดำเนินงานเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในชุมชน
ข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคนจะต้องทำ
เนื่องจากว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ หากไม่มีความรู้และทักษะต้องพัฒนา
เพื่อเป็นวิทยากรนำการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และ
ฝ่ายการเมืองและราชการจะต้องชี้ให้ประชาชนเห็นความจำเป็น คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ในการดำเนินงานว่าทำไมต้องทำ ถ้าไม่ทำไม่มีที่ทิ้งขยะแล้วเราจะไปทิ้งที่ใด
และท้ายสุดจะต้องทำการสาธิตให้ดูว่าทำอย่างไร ถ้าร่วมมือกันก็ไม่ได้ยาก
หรอกครับ รายละเอียดผมจะได้เล่าในส่วนต่อไปในคู่มือนี้ครับผม อ้าวแล้ว
ทำไมแนวคิดชุมชนไร้ถังจึงมาเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองยุคใหม่ล่ะ
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ได้นำ
แนวคิดชุมชนไร้ถังมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลเมืองยุคใหม่
ซึ่งโครงการพลเมืองยุคใหม่ เป็นโครงการที่เสริมสร้างความเป็น
ประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่เพื่อให้ประชาชนรู้สิทธิและหน้าที่
ของตนในฐานะที่เป็นพลเมือง และมีขีดความสามารถในการเข้ามาดำเนิน
การให้บริการสาธารณะ หรือร่วมในการบริหารการให้บริการสาธารณะ
ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ ต่อมาได้พิจารณาเห็นว่า แนวทาง
การบริหารจัดการขยะตามแนวคิดชุมชนไร้ถัง สามารถที่จะสร้างการมี
สถาบันพระปกเกล้า